BTimes: ‘Ztrus’ แปลงภาพถ่ายสู่การจัดเก็บข้อมูล สู่ความเป็นเลิศบริการเทคโนโลยี

2677
0
Share:

Jan 20, 2021

ผสานความฉลาดของมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ แปลงภาพเป็นข้อความจัดเก็บเข้าระบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ

ทั้งๆ ที่โลกก็มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก แต่ทำไมมนุษย์ถึงยังต้องเผชิญกับเอกสารกองมหึมา แล้วจะมีเทคโนโลยีอะไรที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้บ้าง วันนี้ BTimes มีคำตอบมาให้ เมื่อผู้ประกอบการท่านนึง ลุกขึ้นมาประดิษฐ์แพลตฟอร์ม OCR สุดฉลาดที่ผสานความสามารถของ AI และมนุษย์เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีเป้าหมายหลักคือช่วยนำข้อมูลจากแผ่นกระดาษมาจัดเก็บไว้ในเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Ztrus

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม CEO & Co-Founder Ztrus

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม CEO & Co-Founder ได้ให้นิยามไว้ว่า Ztrus เป็น Technology Provider Service ที่เปรียบเสมือนผู้ช่วยคีย์เอกสารเข้าระบบ ทำงานภายใต้ลอจิกพิเศษ ที่นำ AI มาพัฒนาและเรียนรู้จากพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้ AI ทำความเข้าใจชุดข้อมูลรูปแบบใหม่ที่มีโครงสร้างแตกต่างกัน จากนั้นก็นำไปจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัลที่เข้าใจง่าย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการทำงาน

Ztrus เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล

เป็นข้อมูลเปราะบาง หรือเซนซิทีฟก็ได้ครับ เพราะว่า Ztrus เราพัฒนาเทคโนโลยีเองจากศูนย์ ฉะนั้นเนี่ยเราสามารถ Provide Service เราเรียก On-Premise คือเข้าไปอยู่ในระบบของลูกค้า เราไม่อยู่บน Cloud ก็ได้ หรืออยู่บน Cloud ก็ได้ครับ

Ztrus เดินทางเข้าสู่โลกเอกสารมากว่า 3 ปี และได้รับการจดทะเบียนไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 ต่อมาในเดือนเมษายน ปี 2563 ก็ได้รับเงินลงทุนจาก N-Vest ซึ่งเป็นกองทุนของธนาคารออมสินและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นับเป็นการเริ่มต้นทำธุรกิจอย่างจริงจัง ที่พร้อมให้บริการลูกค้าอย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่ง ดร.พณชิตได้พัฒนาเทคโนโลยีให้มีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้เข้ากับรูปแบบที่หลากหลายของเอกสารได้ โดย Ztrus สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทุกระดับตั้งแต่ง่ายไปจนถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อน เช่น เอกสารพิพากษา หรือแม้แต่สัญญาการเช่าที่ เป็นต้น ด้วยการออกแบบ Cognitive AI ให้มีความเข้าใจในพฤติกรรมการเลือกเก็บข้อมูลของมนุษย์ แล้วเลียนแบบวิธีการเหล่านั้นมาปรับใช้ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้น

Ztrus เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล

ปัจจุบันการ Ztrus ให้บริการจัดเก็บข้อมูลอยู่ 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ที่มีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 95% และภาษาอังกฤษที่มีความแม่นยำอยู่ที่ 98% พร้อมตั้งเป้าพัฒนาเทคโนโลยี และปรับเกณฑ์ภาษา เพื่อขยายฐานการเข้าถึงภาษาอื่นๆ ให้ได้มากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตอีกด้วย

BTimes