กกร.เหนื่อยใจไม่มีสัญญาณฟื้นตัวเศรษฐกิจ

1327
0
Share:

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน หรือ กกร.ว่า ที่ประชุมยังไม่ได้มีการปรับเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจไทย การส่งออก และอัตราเงินเฟ้อ ในปี 2562 แต่จะติดตามและประเมินสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิดต่อไป โดยยังคงจีดีพีไว้ที่ 2.7-3 % แต่จากจากเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่ที่ลดตัวลง สะท้อนว่าอาจจะยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นของ จีพีดี ในไตรมาสที่ 3 หลังจากช่วงครึ่งปีแรกจีพีดีขยายตัวเพียง 2.6% โดยในไตรมาส 3 การส่งออกหดตัวเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
.
ขณะที่มีเพียงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวดีขึ้น จากผลของฐานที่ต่ำในปีก่อนและอานิสงส์จากมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียม Visa on Arrivals แต่ภาคเอกชนและภาครัฐอยู่ระหว่างการหารือมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว เช่น การเปิดเส้นทางท่องเที่ยวใหม่
.
โดยเมื่อมองไปข้างหน้าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังอยู่ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยง ทั้งจากทิศทางเศรษฐกิจหลักในโลกที่ชะลอลง ผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน รวมถึงเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่จะยังคงสร้างแรงกดดันต่อการส่งออกและความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย ขณะเดียวกันคำสั่งซื้อจากการส่งออกที่ชะลอลง หากยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง และตัวเลขการจ้างงานได้ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องกันมา 4 เดือนแล้ว
.
สำหรับประเด็นการลดผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทนั้น ที่ประชุม กกร. เห็นว่า ภาคเอกชนควรจะแสดงท่าทีที่ชัดเจนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้มีมาตรการลดผลกระทบเงินบาทที่แข็งค่าเร็ว
.
ส่วนโครงการ ชิมช้อปใช้ เฟสแรกและเฟสสอง ได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลกำลังพิจารณาว่าจะขยายโครงการเฟส 3 ต่อ อีก โดยทาง กกร. มองว่า โครงการนี้จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 และทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบได้มากขึ้น
.
ส่วนกรณีที่สหรัฐฯ ได้ประกาศตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรทางการค้า (จีพีเอสซี) กับไทย จำนวน 573 รายการ ภาครัฐควรเร่งเจรจากับสหรัฐฯ ก่อนถึงเงื่อนเวลาที่จะมีการตัดสิทธิ และควรจะต้องมีมาตรการดำเนินการต่อ ดังนี้ 1) ประสานงานเรื่องดังกล่าวต่อกระทรวงแรงงาน // 2) การจัดทำ Early Warning สำหรับสินค้าที่อาจถูกตัดสิทธิในลำดับต่อไป และ 3) นำประเด็นนี้เข้าหารือในการประชุม กรอ. และสมาคมการค้าสหรัฐฯ