กสิกรไทย แจงข่าวสะพัด ขาย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกว่า 3 หมื่นล้าน ยังไม่มีสรุป

269
0
Share:
กสิกรไทย แจงข่าวสะพัด ขาย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กว่า 3 หมื่นล้าน ยังไม่มีสรุป

จากกรณีมีกระแสข่าว ธนาคารกสิกรไทย เตรียมพิจารณาขาย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย ด้วยมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาทนั้น นายจงรัก รัตนเพียร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ตามที่มีข่าวว่า ธนาคารกสิกรไทย กำลังพิจารณาทบทวนแผนกลยุทธ์ที่มีต่อธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) นั้น ธนาคารขอเรียนชี้แจงดังนี้

ธนาคารกสิกรไทย แสวงหาโอกาสทางธุรกิจและแนวทางเพิ่มเติมที่จะสร้างประโยชน์ต่อลูกค้า และผู้ถือหุ้นในทุกธุรกิจของธนาคาร รวมถึงธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญของธนาคาร

ทั้งนี้ในแนวปฏิบัติดังกล่าว ธนาคารอาจจะต้องมีการหารือร่วมกันกับหลายฝ่าย ซึ่งการหารือดังกล่าวนั้นอาจจะไม่ได้ส่งผลให้มีธุรกรรมเกิดขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากมีธุรกรรมเกิดขึ้น ธนาคารจะเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเวลาที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย เลขานุการบริษัท รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 26 ม.ค. มีมติอนุมัติเป้าหมายทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย สำหรับปี 2566 โดยมีสาระดังต่อไปนี้

ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายพอร์ตสินเชื่อเติบโตจากปีก่อน 5-7% มีส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) 3.3-3.45% อัตราส่วนค่าใช้จ่ายดําเนินงานต่อรายได้รวม (Cost to Income Ratio) อยู่ที่ 43.15 ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ (Credit Cost per Year) 175-200 bps และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่ำกว่า 3.25%

บล.ดาโอ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับประมาณการกำไรสุทธิในปี 2566 ลดลง 12% และปรับกำไรสุทธิ 2567 ลดลง 7% จากการปรับ credit cost เพิ่มขึ้น เพราะการ clean up ลูกหนี้ยังมีต่อเนื่อง ทำให้ได้กำไรสุทธิในปี 2566 อยู่ที่ 3.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากฐานต่ำในปีก่อน

ขณะที่คาดกำไรสุทธิไตรมาสที่ 1 ของปีนี้จะทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากแนวโน้มสำรองฯที่ยังทรงตัวระดับสูง แต่จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน จากฐานต่ำและ OPEX ที่ลดลงตามฤดูกาล ทั้งนี้เรามุมมองเป็นลบจากกการประชุมนักวิเคราะห์ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา เพราะแนวโน้มสำรองยังคงอยู่ในระดับสูง (20 ม.ค.) เพราะแนวโน้มของสำรองยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องในปี 2566

ทั้งนี้ผู้บริหารคาดว่าสำรองได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2565 (แต่ในปี 2566 จะยังมีการ Clean up ลูกหนี้อีก) ทำให้ credit cost จะยังไม่กลับมาเท่าที่ระดับปกติที่ 140-160 bps ส่วน NPL ในไตรมาสที่ 4 ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.19% พราะมีการจัดชั้นที่เข้มงวดมากขึ้น แม้ว่าจะมีการขาย NPL ถึง 1.7 หมื่นล้านบาทก็ตาม