กองทัพไทยยอมรับมีแพทย์ทหารฉ้อโกง นำเกลือแร่ฉีดแทนวัคซีนให้ทหารในซูดานจริง

836
0
Share:

พล.ท.เชาวลิตร สังฆฤทธิ์ โฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย ยอบรับกรณีมีข่าวพบการทุจริตของนายทหารไทยที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในซูดาน ซึ่งมีพฤติกรรมฉ้อโกงนำเกลือแร่ไปฉีดเป็นวัคซีนและนำวัคซีนจริงไปขายให้พ่อค้า ว่าเป็นเรื่องจริง ซึ่งเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 2563
.
ซึ่งมีทหารยศร้อยโท นายแพทย์ ประจำโรงพยาบาลทหารระดับ 1 ซึ่งทำความผิดวินัยร้ายแรงในการนำวัคซีนที่ทำจากสารอื่นมาฉีดให้กำลังพล ทบ.ไทยที่ปฏิบัติภารกิจ ที่ซูดาน และถูกองค์การสหประชาชาติ (UN) ตรวจสอบได้และถูกสอบสวน ก่อนถูกส่งกลับไทย และหนีราชการจนถูกปลดออกจากราชการ โดยมีการตั้งกรรมการสอบสวนและรายงาน ผบ.กกล ฉก. ยูเอ็นทราบ โดยกองทัพบก ต้นสังกัดได้ตั้งกรรมการสอบสวนและส่งตัวกลับไทยทันทีเมื่อ มี.ค.2563
.
กรณีนี้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย และกองทัพไทย โดยกองทัพไม่ปกป้องผู้กระทำผิด โดยได้ตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงและส่งเรื่องให้แพทยสภาตั้งกรรมการสอบคุณธรรม จริยธรรม เพราะเป็นแพทย์ และพบว่าทำผิดจริง หลอกลวงผู้บังคับบัญชา
.
ทั้งนี้จากการปฏิบัติดังกล่าว สืบเนื่องจากนายแพทย์ใหญ่สั่งว่ากำลังพลที่ไปปฏิบัติหน้าที่ต้องฉีดวัคซีนและนำสารอื่นเข้าร่างกาย และเรียกเงินค่าวัคซีน จากกำลังพลคนละ 500 บาท รวมกว่า 200 นาย เป็นเงิน 1.7 แสนบาท
.
เมื่อกลับไทยมา นายแพทย์ร้อยโท คนดังกล่าวได้ขาดการติดต่อ ทาง ทบ.จึงปลดออกจากราชการเพราะขาดหนีราชการ เมื่อ 9 เม.ย.2563
.
ขณะที่ ศาลทหารกรุงเทพ ได้ออกหมายจับ เพราะการหนีราชการ และส่งแพทยสภา ให้ถอดถอนใบประกอบวิชาชีพ แต่เจ้าตัวไม่มาให้ปากคำ แพทยสภาจึงยังถอดถอนไม่ได้
.
สำหรับการกระทำนี้ถือเป็นการกระทำส่วนบุคคลที่สร้างความเสื่อมเสีย ร้ายแรง ต่อกองทัพ และประเทศชาติ ดังนั้น กองทัพไทย จึงได้ดำเนินการ ทันที
.
ขณะที่ความสัมพันธ์กับยูเอ็น โฆษกกองทัพไทย เปิดเผยว่า ยูเอ็นเข้าใจกองทัพไทยดี
.
สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวทราบขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ยูเอ็นสังเกตพบว่า วัคซีนที่ฉีดนั้นมีลักษณะน้ำยาใส สีขุ่นและไม่มีฉลาก จึงนำน้ำยามาตรวจสอบ จนพบว่าเป็นยาป้องกันบาดทะยักหรือเกลือแร่ ซึ่งไม่ใช่วัคซีนจริง ไม่ใช่วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งซื้อมาจากอินเดีย
.
สำหรับการ ถอนใบอนุญาตฯ ถ้าแพทยสภา เรียกตัวไม่มา 2 ครั้งจึงจะดำเนินการลงมติถอนใบนุญาตได้
.
ส่วนการที่ บิดาของร้อยโทคนดังกล่าว ฟ้องร้องว่าลูกชายถูกกลั่นแกล้งนั้น จากผลการสอบสวนกำลังพลกว่า 200 นาย พบว่าไม่เป็นความจริงเลยที่ ร้อยโทนายแพทย์ผู้นี้ถูกกลั่นแกล้ง อีกทั้งการที่กองทัพบกตั้งคณะกรรมการสอบสวนนายแพทย์ผู้นี้ก็ไม่เคยมาชี้แจงเลย นอกเสียจากเคยยอมรับว่ากระทำความผิดจริงกับผู้บังคับกองร้อยที่ซูดาน
.
ทั้งนี้ โฆษกกองทัพไทย ยอมรับว่า ร้อยโทนายแพทย์ผู้นี้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ซูดานโดยไม่ได้ผ่านขั้นตอนการคัดกรองตามปกติ เนื่องจากเป็นการเดินทางไปอย่างเร่งรีบ โดยไปเป็นตัวแทนนายแพทย์คนก่อนหน้านี้ที่ต้องเดินกลับเดินทางกลับประเทศจึงไม่ได้ผ่านขั้นตอน ดังนั้นจึงถือเป็นบทเรียนว่าการคัดเลือกกำลังพลไปปฎิบัติหน้าที่จะต้องผ่านขั้นตอนที่ถูกต้อง