กังวลไม่เลิก! ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม เดือน ก.ย.ร่วง 3 เดือนติด กังวลบาทอ่อน ขึ้นดอกเบี้ย ดันต้นทุนเพิ่ม

203
0
Share:

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (...) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.. 66 อยู่ที่ระดับ 90.0 ปรับตัวลดลงจาก 91.3 ในเดือนส.. ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยเมื่อพิจารณาองค์ประกอบของค่าดัชนีฯ พบว่า ปรับตัวลดลงเกือบทุกองค์ประกอบ ทั้งดัชนีฯ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ยกเว้นตันทุนประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น

ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนก.. 66 ที่ปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากภาคการผลิตที่ชะลอตัวจากกำลังซื้อในประเทศอ่อนแอลงจากปัญหาหนี้ครัวเรือน และรายได้ภาคเกษตรที่ลดลง ขณะที่อุปสงค์จากประเทศคู่ค้าชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ชะลอตัวลงจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงกดดันเศรษฐกิจในภูมิภาค และการอ่อนค่าของเงินบาทเนื่องจากเงินทุนไหลออกจากประเทศในช่วงที่ผ่านมา จากความกังวลต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งผลให้ราคาวัดถุดิบนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น นอกจากนี้สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ยังเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า รวมถึงกระทบต่อวัตถุดิบสินค้าเกษตร

อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการรัฐช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน โดยการปรับลดราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาท/ลิตร และปรับลดค่าไฟฟ้าจาก 4.45 เป็น 3.99 บาท/หน่วย ส่งผลให้ตันทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมและค่าขนส่งลดลง สะท้อนจากดัชนีฯ ต้นทุนประกอบการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า รวมทั้งการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวยังคงส่งผลดีต่อการบริโภคในประเทศ

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 97.3 ปรับตัวลดลงจาก 99.5 ในเดือนส.. โดยมีปัจจัยเสี่ยงมาจากความกังวลต่อแนวโน้มราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น จากความต้องการในช่วงฤดูหนาว ขณะที่ปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกจากมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวอนุมัติวีซ่าฟรีชั่วคราวให้นักท่องเที่ยวจีน และคาซัคสถาน เป็นเวลา 5 เดือน ซึ่งคาดว่าช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2566 

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ได้แก่ เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันการเงินทั้งรัฐและเอกชน ดูแลส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลง เพื่อไม่ให้เป็นภาระของผู้ประกอบการ รวมถึงเร่งรัดการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) โดยเร็ว รวมทั้งเสนอให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และกรมศุลกากร เข้มงวดในการตรวจจับสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพจากต่างประเทศ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ อีกทั้งอยากให้ภาครัฐสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินคืนในระบบ Net Metering และสนับสนุนให้มีการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (Renewal Energy) เพื่อรองรับความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)