กำไรเยอะ ! ธ.ก.ส. เปิดผลงาน 3 ไตรมาสปี 66 กำไร 6.2 พันล้านบาท NPLขยับลงมาอยู่ที่ 5.43%

154
0
Share:

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) เปิดเผยผลการดำเนินงาน ช่วง 3 ไตรมาสแรก ของปีบัญชี 2566 (1 เม.. – 31 ..66) ว่า ธ... ได้สนับสนุนสินเชื่อเพื่อกระตุ้นและพัฒนาเศรษฐกิจในภาคชนบทระหว่างปีไปแล้ว 614,131 ล้านบาท โดยมียอดสินเชื่อคงค้าง 1.66 ล้านล้านบาท เติบโตจากต้นปีบัญชี 27,641 ล้านบาท หรือคิดเป็น 78.97% ของเป้าหมาย โดยมียอดเงินฝากสะสม 1.82 ล้านล้านบาท มีสินทรัพย์ 2.24 ล้านล้านบาท หนี้สินรวม 2.09 ล้านล้านบาท และส่วนของเจ้าของ 1.55 แสนล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 6,197 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อย ขณะที่ NPLs อยู่ที่ 5.43% ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าสิ้นปีบัญชี จะลดลงมาเหลือต่ำกว่า 5% ได้ตามเป้าหมาย

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธ... กล่าวว่า ในปีบัญชี 2566 ... มุ่งเน้นการขับเคลื่อนภารกิจสู่การเป็นแกนกลางการเกษตร ที่มุ่งยกระดับเกษตรกรในทุกมิติ ผ่านโครงการ D & MBA (Design and Management By Area) โดยร่วมมือกับพันธมิตรและเครือข่ายในการให้ความรู้ เพื่อเสริมศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเกษตรกร การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาสู่การทำการเกษตรสมัยใหม่ หรือเกษตรอัจฉริยะที่สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การสนับสนุนเกษตรกรหัวขบวนในพื้นที่ เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจชุมชน การสร้างการเติบโตใหม่ในกลุ่ม Smart Farmer, Agri-Tech และ Startup ในการต่อยอดธุรกิจเกษตร และสร้างความหลากหลายในตัวผลิตภัณฑ์ ที่ตรงกับความต้องการของตลาด การยกระดับสินค้าสู่มาตรฐาน ทั้งการผลิต การดีไซน์ เพื่อสร้าง Value Added ไปสู่ตลาดที่มีกำลังซื้อสูง รวมถึงการดึงคนรุ่นใหม่ กลับมาต่อยอดและสานต่อธุรกิจของครอบครัว เช่น การสนับสนุนรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร Agro-Tourism, การเชื่อมโยงธุรกิจเกษตรและจับคู่ตลาด, การพัฒนาชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้หลัก BCG และการพัฒนาความรู้ด้านการเงินและดิจิทัล

นอกจากนี้ ธ... ยังให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้สินและการฟื้นฟูอาชีพ เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสในการลดภาระหนี้สิน มีรายได้ที่มั่นคง สามารถก้าวพ้นกับดักหนี้ได้อย่างยั่งยืน เช่น

มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่สอดคล้องกับศักยภาพและรายได้ในกลุ่มหนี้ที่มีปัญหา โดยใช้ฐานข้อมูลและเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดกลุ่มลูกค้า

การพัฒนาเครื่องมือและช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น เช่น การชำระหนี้ผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile และ Banking Agent เป็นต้น

มาตรการจ่ายดอก ตัดต้น เมื่อลูกค้าส่งชำระหนี้ ธนาคารจะแบ่งการตัดชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย ในสัดส่วน 50 : 50 ซึ่งจะทำให้ลูกค้าลดภาระหนี้ได้เร็วยิ่งขี้น โดยสามารถลดหนี้ได้แล้วกว่า 43,189 ล้านบาท

มาตรการจ่ายต้น ปรับงวด โดยธนาคารจะปรับตารางชำระหนี้ใหม่ ให้สอดคล้องกับรายได้ และศักยภาพในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยมีลูกค้าเข้าร่วมมาตรการแล้วกว่า 12,684 สัญญา

สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชำระหนี้ ผ่านโครงการชำระดีมีโชคโดยจูงใจให้ลูกค้าชำระหนี้ตรงตามกำหนดเวลา ซึ่งดอกเบี้ยและเงินต้นที่ชำระจริงทุก ๆ 1,000 บาท จะมอบเป็นสิทธิประโยชน์ในการชิงโชค 2 ชั้น

การให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ ทั้งหนี้ในและนอกระบบ โดยเฉพาะการบริหารจัดการหนี้ทั้งระบบ เพื่อลดปัญหาหนี้เสียและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกค้า ทำให้การเป็นหนี้ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ผ่านโครงการหนี้นอก บอก ธ...” โดยสามารถแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้เกษตรกรลูกค้า และบุคคลในครัวเรือน ให้กลับเข้ามาอยู่ในระบบของ ธ... ไปแล้วกว่า 712,518 รายเป็นเงินกว่า 60,355 ล้านบาท

ทั้งนี้ ธ... ยังได้ดำเนินภารกิจตามนโยบายรัฐบาล ในโครงการต่างๆ เช่น โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/2567, มาตรการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย ที่มีหนี้รวมต้นคงค้างทุกสัญญา ณ 30 ..66 ไม่เกิน 300,000 บาท, การจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดลด PM 2.5, โครงการช่วยเหลือสนับสนุนผ่านระบบสินเชื่อ ธ... เป็นต้น

ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีบัญชี 2566 (1 ..-31 มี..67) ... ยังมุ่งดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ สนับสนุนเกษตรกรในการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลมาวางแผนบริหารจัดการการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคต่าง ๆ ในตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ ลดปัญหาการเกิดภาวะสินค้าเกษตรล้นตลาด และทำให้เกษตรกรสามารถกำหนดราคาสินค้าได้อย่างเหมาะสม และป้องกันราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รวมทั้งได้ยกระดับชุมชนที่ดำเนินโครงการธนาคารต้นไม้ ต่อยอดไปสู่การจำหน่ายคาร์บอนเครดิต ภาคป่าไม้เต็มรูปแบบผ่านโครงการ BAAC Carbon Credit” อย่างเป็นทางการ ในช่วงต้นเดือนก..นี้ โดยเริ่มต้นที่ บ้านท่าลี่ และบ้านแดง จ.ขอนแก่น เป็นที่แรก และจะขยายไปยังชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อสร้างรายให้กับชุมชนที่ร่วมปลูกและดูแลต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวและสนับสนุนเป้าหมายของประเทศ ในการก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ที่สร้างความยั่งยืนให้กับทุก ๆ คนต่อไป