ขาดดุลต่อ! กรุงศรีชี้รัฐทำงบฯ ขาดดุลกว่า 20 ปี ยังคงขาดดุลการคลังสูงกว่า 3% ของจีดีพี

326
0
Share:
ขาดดุลต่อ! กรุงศรีชี้รัฐทำ งบประมาณ ขาดดุล กว่า 20 ปี ยังคงขาดดุลการคลังสูงกว่า 3% ของจีดีพี

ศูนย์วิจัยกรุงศรี โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยรายงานระบุว่า รัฐบาลกำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ที่ 3.6 ล้านล้านบาท เป็นงบขาดดุลที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 2 หมื่นล้านบาท การประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 16 มกราคม มีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณปี 2568 โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ 3.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ในปีงบฯ 2567 (หรือเพิ่มขึ้น 3.4%) โดยเป็นงบประมาณขาดดุลอยู่ที่ 7.13 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งขาดดุลที่ 6.93 แสนล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 2.9%) และเป็นงบขาดดุล 3.56% ต่อจีดีพี เทียบกับขาดดุลที่ 3.64% ต่อจีดีพีในปีงบฯ 2567

ศูนย์วิจัย ระบุว่า เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้คาดว่ายังขาดแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในปี 2566 ทำให้การจัดทำพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 มีความล่าช้าออกไป (จากปกติจะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566) อย่างไรก็ตาม คาดว่าการจัดทำจะเสร็จสิ้นและสามารถเร่งเบิกจ่ายได้ภายในไตรมาส 2/2567 ซึ่งจะกลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจได้ในระยะถัดไป (ดังเช่นการเบิกจ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562)

ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปี และยังคงขาดดุลการคลังสูงกว่า 3% ของจีดีพี ต่อเนื่องในปี 2568 สะท้อนเศรษฐกิจไทยยังมีความจำเป็นต้องได้รับแรงกระตุ้นผ่านทางนโยบายการคลัง ในอีกมุมหนึ่งอาจยังต้องระวังผลกระทบต่อวินัยการคลังและหนี้สาธารณะซึ่งล่าสุดอยู่ที่ระดับประมาณ 62% ต่อจีดีพี

ศูนย์วิจัย ระบุว่า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แนวคิดนโยบายการเงิน เมื่อวันที่ 15 มกราคม โดยระบุว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับ 2.50% มีความเหมาะสมในบริบทเศรษฐกิจการเงินในปัจจุบัน ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้ คือ

1. ธปท.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวในหลายมิติ โดยเฉพาะอุปสงค์ในประเทศ ภาคบริการ และการจ้างงานที่ปรับตัวานมาส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการอุดหนุนและมาตรการช่วยเหลือด้านพลังงานของรัฐบาล ซึ่งไม่ได้เกิดจากการลดลงของราคาสินค้าเป็นวงกว้าง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนับว่าอยู่ในระดับที่ต่ำและต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่

2. ภาวะการขยายตัวของสินเชื่อปรับดีขึ้นจากแนวโน้มการกลับมาให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้น และการออกตราสารหนี้ของภาคเอกชนมีความเสี่ยง roll over ยังจำกัดอยู่ และ 3.แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับสูงขึ้น แต่ธปท.ยังมีการดำเนินมาตรการเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง โดยล่าสุด ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดภาระบางส่วนที่ลูกหนี้ต้องเผชิญในการผ่อนชำระหนี้

ทั้งนี้ จากมุมมองล่าสุดของ ธปท.เกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงชั่วคราว และยังมีการให้ความช่วยเหลือที่เน้นตรงไปยังกับกลุ่มเป้าหมายที่เปราะบางเป็นสำคัญ ประกอบกับความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยที่เติบโตต่ำ มีสาเหตุจากมีปัญหาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว ซึ่งธปท.ชี้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่รวดเร็ว (quick fix) จึงคาดว่าในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งแรกของปีนี้ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50%