ข้าวของแพง! คนไทยห่วงค่าครองชีพแพงสุดๆ กดดันดัชนีภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพกลับมาทรุด

505
0
Share:
ข้าวของแพง! คนไทยห่วง ค่าครองชีพ แพงสุดๆ กดดันดัชนีภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพกลับมาทรุด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพ (KR-ECI) ในเดือนต.ค. 64 และ 3 เดือนข้างหน้าปรับลดลงอยู่ที่ 34.9 และ 36.7 จากในเดือน ก.ย. ที่ 36.6 และ 38.4 โดยครัวเรือนมีความกังวลอย่างมากต่อระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลก และราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางเงินเฟ้อในเดือน ต.ค.64 ที่เร่งตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่ 2.38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว

เนื่องจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น (+22.6%) แม้จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจะเริ่มทรงตัว สถานการณ์โควิด-19 เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังอัตราการฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการทยอยผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่ราคาสินค้าต่าง ๆ ที่ปรับสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน

จากผลสำรวจเพิ่มเติมของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับวิธีการรับมือกับราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สะท้อนว่าครัวเรือน 41.0% จะปรับลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ส่วนอีก 39.4% ระบุว่าจะใช้สินค้าอุปโภคบริโภคในปริมาณที่น้อยลงต่อครั้งเพื่อให้ใช้ได้นานขึ้น ซึ่งวิธีการรับมือต่าง ๆ ของภาคครัวเรือนจะเห็นว่าเป็นการลดทอนแรงหนุนจากการบริโภคครัวเรือนที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า การเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการคุมเข้​มฯ จะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเพิ่มขึ้นได้ ในขณะที่ผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมต่อการปรับขึ้นของราคาพืชผักอาจมีแนวโน้มผ่อนคลายลงได้บ้าง หลังระดับน้ำท่วมเริ่มลดลงและเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว แต่สถานการณ์ราคาพลังงานโลกที่อยู่ในระดับสูงอาจต้องใช้เวลาในการปรับสมดุลระหว่างความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและปริมาณการผลิต จึงอาจยังเห็นราคาพลังงานที่สูงกดดันต้นทุนค่าขนส่งและอาจส่งผลกระทบมายังต้นทุนสินค้าและบริการอื่น ๆ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังมีแนวโน้มเปราะบาง

ดังนั้นในช่วงที่กิจกรรมเศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้นตัว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐโดยเฉพาะในส่วนของการบริโภค เช่น มาตรการด้านภาษีในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปียังมีความจำเป็น ควบคู่ไปกับการเปิดประเทศด้วยมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่ชัดเจนและการเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมอย่างต่อเนื่องกันความเสี่ยงที่ชัดเจนและการเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมอย่างต่อเนื่อง