คนสูงวัยในไทยเจอ 2 สถานการณ์ น่าห่วงสูงวัยพุ่งขึ้นเร็วกว่าคาด เร็วกว่าประเทศพัฒนาแล้ว

833
0
Share:
คนสูงวัย ในไทยเจอ 2 สถานการณ์ น่าห่วงสูงวัยพุ่งขึ้นเร็วกว่าคาด เร็วกว่าประเทศพัฒนาแล้ว

ดิอีโคโนมิสต์ (The Economist) โดยสำนักวิจัยมีชื่อว่า Economist Intelligence Unit หรืออีไอยู เปิดเผยรายงานบทวิเคราะห์ที่มีชื่อว่า เรื่อง “Poor Asian countries face an ageing crisis” ประเทศเอเชียที่มีความยากจนเผชิญกับภาวะวิกฤตสังคมผู้สูงอายุ พบว่าประเทศไทย เวียดนาม และศรีลังกา ล้วนเผชิญปัญหาเดียวกัน คือ เป็นประเทศที่มีประชากรสูงวัย หรือแก่ก่อนรวย มีประชากรสูงวัย หรือคนแก่ไร้ที่พึ่ง และมีประชากรสูงวัย หรือคนแก่ไม่มีที่ไป

สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่าในช่วงระหว่างปี 2545 ถึงปี 2564 หรือ 19 ปี มีสัดส่วนของประชากรไทยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือคนสูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 7% เป็น 14% ซึ่งพบว่า สัดส่วนของการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นไปอย่างก้าวกระโดดภายในเวลาเพียง 19 ปี สถานการณ์ดังกล่าวน่ากังวลเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสัดส่วนของประชากรสูงวัย หรือเมื่อมีอายุถึง 65 ปีในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นใช้เวลา 24 ปี ประเทศอเมริกาใช้เวลา 72 ปี และประเทศฝรั่งเศสใช้เวลามากที่สุดถึง 115 ปี

นอกจากนี้ ประเทศไทยในขณะนี้ไม่เพียงเข้าสู่ภาวะประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงวัยจำนวนมาก แต่ยังมีสภาพผู้สูงวัยชาวไทยแก่ก่อนรวยด้วย เนื่องจากตัวเลขรายได้ประชากรสูงวัยคิดต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ต่อคนของผู้สูงอายุชาวไทยในปี 2564 อยู่ที่ 7,000 ดอลลาร์ ประมาณ 260,000 บาท แต่เมื่อเปรียบเทียบกับคนสูงอายุชาวญี่ปุ่นในอายุใกล้เคียงกับผู้สูงอายุในไทย พบว่า ในปี 2537 ระดับรายได้ของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในรูปสกุลเงินดอลลาร์สูงกว่าผู้สูงอายุชาวไทยถึง 5 เท่า

อีไอยู เปิดเผยรายงานต่อไปว่าประเทศไทยไม่เพียงเผชิญปัญหาเเก่ก่อนรวย แต่ยังต้องเผชิญปัญหาจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด นั่นหมายถึง สัดส่วนประชากรชาวไทยสูงอายุมีถึง 14% ภายในช่วงเวลา 19 ปี ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นภายในเวลาอันรวดเร็วกว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว

ปัญหาต่อมาของผู้สูงอายุชาวไทย คือ เกิดภาวะคนแก่ไม่มีที่ไป สาเหตุจาก ประชากรคนไทยในวัยทำงานต้องเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ ปล่อยให้ผู้สูงอายุชาวไทยและเด็กหลายคนยังต้องทำงานอยู่ในการเกษตรซึ่งอยู่ในต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก

ในเวลาเดียวกัน ประชากรชาวไทยยังตกอยู่ในภาวะคนแก่ไร้ที่พึ่งไปจนถึงแก่แบบโดดเดี่ยว สาเหตุจากระยะเวลาอันสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ประเทศไทยมีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนประชากรสูงวัยอย่างมากมายในลักษณะแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้ขาดการเตรียมความพร้อมทั้งทางสังคม การเงิน และการรับมือกับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป