คนเจนซี-เจนวายไม่สนความเรียบเนี๊ยบ ไม่รีดผ้า ไม่ยอมเสียเวลา ฉุดยอดขายเตารีดลดลง

911
0
Share:
คน เจนซี - เจนวาย ไม่สนความเรียบเนี๊ยบ ไม่รีดผ้า ไม่ยอมเสียเวลา ฉุด ยอดขาย เตารีด ลดลง

เลคแลนด์ (Lakeland) บริษัททำธุรกิจค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าในสหราชอณาจักร หรือยูเค เปิดเผยว่า ยอดขายเตารีดลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงไปมาก จึงแทบไม่มีความสำคัญในการใช้เตารีดของผู้คนจำนวนมากอีกต่อไป โดยพบว่าคนรุ่นใหม่จำนวนมากไม่ชอบรีดเสื้อผ้าซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนนับตั้งแต่ช่วงระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเวลานั้นทำให้คนต้องทำงานอยู่บ้าน ไม่ได้ออกไปงานที่เป็นทางการ จึงไม่มีความจำเป็นต้องรีดผ้า กระทบไปถึงไม่จำเป็นต้องซื้อเตารีดต่อไป

นอกจากนี้ แม้ผู้คนจะกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติหลังสิ้นสุดการระบาดของโรคโควิด-19 แต่คนรุ่นใหม่ในกลุ่มเจนซีไม่ต้องการแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่เรียบ สะอาด หรือมีความเป๊ะเหมือนที่ผ่านมา โดยมองว่าการใส่เสื้อผ้าด้วยชุดยับๆ ก็ไม่ได้แย่ เตารีดและโต๊ะรีดผ้าจึงถูกพับเก็บไว้ในห้องเก็บของ

ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในสหราชอณาจักร พบว่า ราว 30% ของคนที่มีอายุระหว่าง 18-34 ปี หรืออยู่ในช่วงเจนซี และเจนวาย ไม่มีเตารีดและที่สำคัญไม่เคยต้องรีดเสื้อผ้า สาเหตุจากคนรุ่นใหม่มองว่าเสื้อผ้าของคนรุ่นนี้ไม่จำเป็นต้องรีด และการรีดผ้าไม่ใช่เรื่องสำคัญขนาดนั้นรวมถึงไม่ชอบรีดผ้า ในขณะที่ คนรุ่นใหม่มีมมุมองกับคนรุ่นดั้งเดิมว่า ผู้ใหญ่ต้องยืนรีดผ้าเป็นเวลานานนับชั่วโมง เนื่องจากมีค่านิยมการใส่เสื้อผ้าที่เรียบ ห้ามมีรอยยับ เพราะจะทำให้ดูดี ดูภูมิฐาน และเป็นคนสะอาด

ผลสำรวจที่มีเป็นการตอกย้ำ และชี้ให้เห็นว่า 90% ของคนที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป หรือคนรุ่นเจนเอ็กซ์ (Generation X) มีเตารีดไว้ที่บ้าน เพื่อใช้รีดเสื้อผ้าเป็นประจำ นอกจากนี้ คนรุ่นนี้ยังชอบพกเตารีดติดกระเป๋าเดินทาง เมื่อต้องเดินทางไปเที่ยวด้วย

นอกจากนี้ นวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ายุคใหม่ที่ทำให้เตารีดถูกลดบทบาทลงไปเรื่อยๆ คือมีทั้งเครื่องอบผ้าที่เพิ่มการใช้งานขจัดรอยยับ แค่กดปุ่มเดียวผ้าก็เรียบตั้งแต่ออกจากเครื่อง ไม่ต้องมารีดใหม่ รวมไปถึงเครื่องดูแลผ้าที่ราคาถูกกว่าเครื่องอบผ้า แต่ก็ทำงานได้หลายประเภททั้งอบผ้า รีดผ้า ขจัดแบคทีเรียและกลิ่นอับ เพียงแค่เอาเสื้อเข้าไปแขวนในตู้เท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและแนวโน้มการใช้เตารีดผ้าที่ลดลงต่อเนื่อง ส่งผลต่อบรรดาแบรนด์เสื้อผ้าต่างๆ เปลี่ยนมาผลิตเสื้อเชิ้ตสำหรับผู้ชาย และชุดกระโปรง หรือชุดเดรสสำหรับผู้หญิงที่มีรอยยับได้ยาก รวมถึงเลอะได้ยาก ซึ่งสามารถสวมใส่ได้ทุกโอกาสและทุกสถานที่

ด้านศาสตราจารย์ นายเชตัน ซิงห์ โสลังกี จากมหาวิทยาลัยไอไอที เมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย เปิดเผยว่า จากข้อมูลจะพบว่าคนส่วนใหญ่คนใส่เสื้อผ้า 2 ชิ้นต่อวัน เสื้อ 1 ตัวจะใช้เวลารีด 5-7 นาที ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 200 กรัม ลองนึกภาพว่า ถ้าคนอินเดีย 1,400 ล้านคนทั้งประเทศ พร้อมใจกันขึ้นมารีดผ้า อินเดียจะปล่อยก๊าซเรือนกระจก 250 ล้านกรัมต่อวัน ดังนั้น จึงมีการรณรงค์ให้ชาวอินเดียเลิกรีดเสื้อผ้า เพื่อลดพลังงานไฟฟ้า และลดการปล่อยก๊าซคาร์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้คนเริ่มตัดสินใจไม่รีดเสื้อผ้า