ครม.เห็นชอบแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย ปี 66-70 ตั้งเป้าลดต้นทุนขนส่งต่อ GDP เหลือ 5%

240
0
Share:
ครม. เห็นชอบ แผนพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ ไทย ปี 66-70 ตั้งเป้าลดต้นทุนขนส่งต่อ GDP เหลือ 5%

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม ได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ครอบคลุมระยะเวลาปี 2566-2570 โดยมีเป้าหมายให้ไทยเป็นประตูการค้าที่สำคัญในอนุภูมิภาคและภูมิภาค

โดยแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สร้างโครงข่ายการเชื่อมโยงการขนส่ง และระบบโลจิสติกระหว่างท่าเรือ รถไฟ ถนน และท่าอากาศยานอย่างครอบคลุม
2. การยกระดับมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าห่วงโซ่อุปทาน เช่น การพัฒนาการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานด้านการเกษตร การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมต่อการเติบโตของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม
3. การพัฒนาพิธีการศุลกากรที่ครอบคุลมกระบวนการนำเข้าและส่งออกที่เกี่ยวข้อง และการอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น การพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลและใช้ในประโยชน์จากระบบ National Single Window หรือ NSW
4. การพัฒนาศักยภาพ Logistic Service Provider (LSP) เช่น การเสริมสร้างศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์
5. การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาบุคลากร และการติดตามผลด้านโลจิสติกส์

โดยทั้ง 5 แนวทางจะนำไปสู่เป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ คือ สัดส่วนต้นทุนการขนส่งสินค้าต่อ GDP ลดลงเหลือ 5% ,สัดส่วนต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังต่อ GDP ลดลงเหลือ 5% , อันดับตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ด้านวิธีการศุลกากรต้องอยู่ในอันดับที่ 25 หรือคะแนนไม่ต่ำกว่า 3.2 และอันดับตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ด้านสมรรถนะทั้งภาครัฐและธุรกิจต้องอยู่ในอันดับที่ 25 หรือคะแนนไม่ต่ำกว่า 3.6

ส่วนสถานการณ์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในภาพรวมในปี 2564 ไทยมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ที่ 13.8% ลดลงจากปี 2563 ที่อยู่ที่ 14%