ครม. ไฟเขียว กฟน. กู้เงินในประเทศ 38,900 ล้าน ลงทุนระยะยาว รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่ม นำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน

116
0
Share:
ครม. ไฟเขียว กฟน. กู้เงิน ในประเทศ 38,900 ล้าน ลงทุนระยะยาว รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่ม นำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ของ กฟน. จำนวน 6 แผนงาน วงเงินรวม 38,900 ล้านบาท ให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นรายปีจนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ โดยกระทรวงการคลังไม่ต้องค้ำประกัน ดังนี้

1. แผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565–2566 เพื่อขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า เช่น สายป้อนระดับแรงดัน หม้อแปลงจำหน่าย เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า และคาปาซิเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ประกอบ รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่มีแน้วโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล วงเงินเต็มแผนงาน 8,866 ล้านบาท แหล่งเงินทุน เงินกู้ในประเทศ 6,500 ล้านบาท เงินรายได้ กฟน. 2,366 ล้านบาท
2.แผนปฏิบัติการดิจิทัล ปี 2566–2570 ประกอบด้วย 3 แผนงาน ดังนี้
(1) แผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริการผู้ใช้ไฟฟ้าและการบริหารองค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าให้ได้รับบริการสะดวกรวดเร็ว
(2) แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับระบบงานต่างๆ ให้ทันสมัย และมีเสถียรภาพ
(3) แผนพัฒนาความมั่นคงปลอดภัย วงเงิน 6,652 ล้านบาท แหล่งเงินทุน เงินกู้ในประเทศ 5,300 ล้านบาท เงินรายได้ 1,352 ล้านบาท

3. แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า เฟสแรก มุ่งเน้นนำสายไฟฟ้าลงดิน เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามแนวรถไฟฟ้า สายสีชมพู ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา ถนนสีหบุรานุกิจ และถนนร่มเกล้า ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ถนนศรีนครินทร์ (ถนนรามคำแหง – ถนนเทพารักษ์) ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร วงเงิน 8,353 ล้านบาท แหล่งเงินกู้ เงินกู้ในประเทศ 6,300 ล้านบาท และใช้เงินรายได้ กฟน. 2,053 ล้านบาท
4.แผนงานประสานสาธารณูปโภคทั่วไป ปี 2566 – 2570 : เป็นการนำสายไฟฟ้าลงดินเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและปรับปรุงภูมิทัศน์ 5 โครงการ ดังนี้
(1) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกาย ช่วงที่ 1 ก่อสร้างทางยกระดับและถนนฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระยะทาง 1.3 กิโลเมตร
(2) โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนประชาชื่นจากการประปานครหลวงถึงถนนแจ้งวัฒนะ (ถนนหมายเลข 11) ของ กทม. ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร
(3) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี ของกรมทางหลวง (ทล.) ระยะทาง 2 กิโลเมตร
(4) โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3 สาย บ้านบางปูใหม่ – บ้านบางปู ของ ทล. ระยะทาง 10 กิโลเมตร วงเงินเต็มแผน 2,797.87 ล้านบาท แหล่งเงินกู้ เงินกู้ในประเทศ 2,000.00 ล้านบาท เงินรายได้ 797.87 ล้านบาท

5. แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าเฟส 2 เพื่อนำสายไฟฟ้าลงดินเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและปรับปรุงภูมิทัศน์ 7 โครงการ ดังนี้

(1) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง ถนนสมเด็จเจ้าพระยา และถนนเจริญนคร ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร
(2) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถนนเพชรเกษม (ถนนรัชดาภิเษก – ถนนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 8.2 กิโลเมตร
(3) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถนนพระราม 4 (ถนนพญาไท – คลองผดุงกรุงเกษม) ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
(4) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ถนนพหลโยธิน (ถนนงามวงศ์วาน – ซอยพหลโยธิน54/2) ระยะทาง 11.3 กิโลเมตร
(5) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถนนรามคำแหง และถนนสุวินทวงศ์ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร
(6) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถนนพระราม 9 (พระราม 9 ซอย 13 – ถนนรามคำแหง) ระยะทาง 2.1 กิโลเมตร
และ (7) เส้นทางเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีเขียว (ถนนเทพารักษ์ – ถนนสุขุมวิท) ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร วงเงินเต็มแผน 9,972.90 ล้านบาท แหล่งเงินกู้ เงินกู้ในประเทศ 7,500.00 ล้านบาท เงินรายได้ 2,472.90 ล้านบาท

6. แผนขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2566–2570: เป็นการขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า เช่น สายป้อนระดับแรงดัน หม้อแปลงจำหน่าย เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า และคาปาซิเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่มีแน้วโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเขตให้บริการของ กฟน. และเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า วงเงินเต็มแผน 18,012 ล้านบาท แหล่งเงินกู้ เงินกู้ในประเทศ 13,600 ล้านบาท เงินรายได้ 4,412 ล้านบาท