คลังหั่นจีดีพีปี 65 เหลือโต 3.5% เงินเฟ้อพุ่ง 5% ผลกระทบสงครามรัสเซีย

309
0
Share:
จีดีพี

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 ว่า กระทรวงการการณ์ ได้ปรับลดคาดการณ์ เศรษฐกิจ ขยายตัวร้อยละ 3.5 ลดลงจากประมาณการครั้งก่อน ณ เดือนมกราคม 65 ร้อยละ 4.0 เนื่องจากผลกระทบ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยชะลอตัว โดยเฉพาะ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา จึงกระทบให้ราคาพลังงานและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 65 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี

โดยเศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวได้จากปี 64 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี ภาคการท่องเที่ยว ขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าไทย 6.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นมากจากปี 2564 ที่มีจำนวนเพียง 4 แสนคน ขณะที่ การส่งออกสินค้า คาดว่าขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี

การดำเนินนโยบายของภาครัฐ  ผ่านการพึ่งพาใช้จ่ายงบประมาณปี 65 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท และงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2565 วงเงิน 3.18 แสนล้านบาท รวมทั้งเงินกู้ตาม พ.ร.ก. 5 แสนล้านบาท โดยคาดว่าการลงทุนภาครัฐ ขยายตัว ร้อยละ 4.6 ต่อปี ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการลงทุนภายในประเทศดีขึ้น การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี ด้านเสถียรภาพภายในประเทศ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ต่อปี ราคาสินค้าส่วนใหญ่มาราคาน้ำมันพุ่ง และอาหารสดเป็นสำคัญ รัฐบาลจึงมมุ่งลดภาระค่าครองชีพ ภาคขนส่ง และดูแลผู้มีรายได้น้อย กลุ่มแรงงาน กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ

ปัจจัยกระทบต่อเศรษฐกิจไทย คือ 1.ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนกระทบต่อราคาพลังงาน 2. ความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาด COVID-19 และอาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต 3. ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก เช่นการปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายของเฟด จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อสูง อาจทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศและส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท 4. ปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่อุปทานการผลิต (Supply Disruption) เช่น การขาดแคลนอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และ 5. ตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัวไม่เต็มที่ จึงเป็นข้อจำกัดสำหรับการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน และความสามารถในการชำระหนี้สินของภาคครัวเรือนที่ยังคงมีความเปราะบาง