ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนดันราคาก๊าซน้ำมันพุ่งกระทบค่าไฟ คนเอเชียแปซิฟิกกว่า 150 ล้าน

238
0
Share:
ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนดันราคาก๊าซน้ำมันพุ่งกระทบ ค่าไฟ คน เอเชียแปซิฟิก กว่า 150 ล้าน ไฟฟ้า

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ระบุว่าราคาพลังงานเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในปี 2564 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หลังผ่านพ้นช่วงโรคโควิด-19 ระบาด แต่สถานการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงหลังรัสเซียรุกรานยูเครนในเดือน ก.พ. 2565 โดยราคาก๊าซธรรมชาติแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาไฟฟ้าในบางตลาดแพงขึ้นตามไปด้วย ส่วนราคาน้ำมันแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551

โดยประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวขึ้นของราคาถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซในระดับสูงต่างก็ได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน โดยไม่เพียงเผชิญกับราคาพลังงานที่สูงขึ้น แต่ยังรวมถึงอาหาร ปุ๋ย และการขนส่งด้วย โดยในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งมีสัดส่วนการใช้จ่ายด้านพลังงานและอาหารสูงอยู่แล้วนั้น ราคาพลังงานที่แพงขึ้น ทำให้ความยากจนขั้นรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น และบั่นทอนความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายการเข้าถึงพลังงานที่เป็นสากลในราคาย่อมเยา

ปัจจุบันมีประชาชนกว่า 350 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่เข้าถึงไฟฟ้าได้แบบจำกัดเท่านั้นและประชาชนอีก 150 ล้านคนยังคงไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความคืบหน้าอย่างชัดเจนในการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 7 (Sustainable Development Goal 7: SDG7) ด้านพลังงานสะอาดและการเข้าถึงพลังงาน โดย สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนามต่างก็มุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายด้านพลังงานที่เป็นสากลด้วยความช่วยเหลือจากการกำหนดเป้าหมายด้านไฟฟ้าที่มุ่งมั่นและชัดเจน โดยในเอเชียใต้นั้น บังกลาเทศและศรีลังกาก็มีพัฒนาการที่โดดเด่นเช่นกัน

ทั้งนี้จากความคืบหน้าในการมุ่งสู่เป้าหมาย SDG7 ของธนาคารโลกแสดงให้เห็นว่าประชาชนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีอัตราการเข้าถึงไฟฟ้าในระดับสูงและเพิ่มขึ้น โดยจำนวนประชาชนในเอเชียกลางและเอเชียใต้ที่มีไฟฟ้าใช้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ปี 2543 จาก 60% เป็น 96% ในปี 2563 ส่วนการเข้าถึงไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นจาก 92% เป็น 98% ในช่วงเวลาเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม แม้อัตราการเข้าถึงไฟฟ้าเป็นไปในทิศทางบวก แต่ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกยังไม่น่าจะบรรลุเป้าหมายการเข้าถึงพลังงานภายในปี 2573 โดยดัชนีอื่นๆ เช่น สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนเคลื่อนตัวไปในทิศทางลบ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจรายได้ต่ำ