คอนเทนต์ช่วย ! TikTok เผยผู้บริโภค 88% ได้รับอิทธิพลจากคอนเทนต์หนุนShoppertainment

140
0
Share:

TikTok และ Accenture ได้ร่วมกันเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกจากรายงาน ‘Shoppertainment 2024: THE FUTURE OF CONSUMER & COMMERCE’ ที่เป็นการสำรวจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงพฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้บริโภคที่มีการพัฒนาเนื่องจากอิทธิพลของคอนเทนต์ ด้วยการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของการพิจารณาคอนเทนต์ที่ไม่ส่งเสริมการขายเพื่อตัดสินใจซื้อ โดยผู้บริโภคชาวไทยมากกว่า 88% ได้รับอิทธิพลจากคอนเทนต์ดังกล่าว ประการที่สอง การสืบค้นข้อมูลสินค้าและตัดสินใจซื้ออย่างไร้รอยต่อ โดย 97% ค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์และทำการซื้อภายในพื้นที่เดียวกัน และการเพิ่มขึ้นของเสรีภาพในการรับชมข้อมูลและการร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์คอมมูนิตี้ โดยผู้บริโภคมากกว่า 60% ได้รับอิทธิพลจากการมีส่วนร่วมของพวกเขา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของคอนเทนต์ในการกำหนดพฤติกรรมการช้อปปิ้งในยุคดิจิทัล

โดยข้อมูลสถิติที่โดดเด่นในรายงานชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดประเทศไทย เผยถึงความสนใจที่ลดลงต่อคอนเทนต์ส่งเสริมการขายแบบดั้งเดิม โดยมีผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากกลุ่มตัวอย่างตามแต่ละประเทศ คือ 12% ในเกาหลีใต้และประเทศไทย 27% ในประเทศญี่ปุ่น และ 41% ในอินโดนีเซีย แสดงความชื่นชอบต่อคอนเทนต์ที่ไม่เน้นการขายถึง 79% แบรนด์ในประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับแนวโน้มดังกล่าว

อีกทั้งยังเน้นย้ำถึงความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับแบรนด์ซึ่งระบุว่าผู้บริโภคในประเทศไทยให้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธ์และประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์นอกจากนี้มีการเผยถึงแนวโน้มของกิจกรรมทางการตลาดของแบรนด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เน้นกลยุทธ์กิจกรรมทางการตลาดระยะสั้นเพื่อได้ผลตอบแทนได้เร็วขึ้นโดย 30% ของนักการตลาดเจ้าใหญ่มีการลดงบโฆษณาลง และกว่า 74% ในกลุ่มดังกล่าวชี้แจงว่ามีสาเหตุจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สรุปได้ว่า แบรนด์มีความจำเป็นในการปรับตัวและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนี้รายงานยังเปิดเผยความต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ 6 ประการ ได้แก่:

การตรวจสอบ (Validation): การเลือกผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดและดีที่สุดเพื่อตรวจสอบการตัดสินใจช้อปปิ้งของพวกเขา

การปรับปรุง (Improvement): มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับปรุงล่าสุดเพื่อคุณสมบัติที่ดีกว่า

ความสะดวกสบาย (Convenience): เพื่อการซื้อที่ง่ายดาย สะดวก คุ้มค่า ผ่านการจัดส่งที่เชื่อถือได้

โดยมีอีก 3 ประการที่เน้นตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ได้แก่

การได้รับคำแนะนำ (Recommendation): เปิดรับคำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากบุคคลและแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

การได้แรงบันดาลใจ (Inspiration): มีความต้องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เมื่อรู้สึกว่ามีแรงบันดาลใจจากเทรนด์และผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยม

การทำตามใจตนเอง (Indulgence): การใช้ประสบการณ์ช้อปปิ้งเพื่อปรนเปรอและตามใจตนเอง

ทั้งนี้ สะท้อนว่าประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมีโอกาสสร้างรายได้ถึง 12.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากมูลค่าตลาดรวมของ Shoppertainment ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 ด้วยผู้บริโภคจำนวนมากที่พร้อมมีส่วนร่วมกับการช้อปปิ้งผ่านคอนเทนต์ที่มีความบันเทิง และมีความสมบูรณ์ในระบบนิเวศ Shoppertainment ด้วยองค์ประกอบของอีคอมเมิร์ซ และคอมมูนิตี้ครีเอเตอร์ที่แข็งแกร่ง รวมถึงการเลือกลงทุนของแบรนด์ที่เลือกได้ตอบโจทย์ตามความสนใจของผู้บริโภคชาวไทยที่ชื่นชอบความบันเทิงและอารมณ์ขัน ทำให้ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นตลาดสำคัญในการเติบโต ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนให้มูลค่าตลาด Shoppertainment ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

คาดว่าภายในปี พ.. 2568  Shoppertainment จะครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มความแข็งแรงของเทรนด์ Shoppertainment ที่ผนึกความบันเทิงเข้ากับการช้อปปิ้งออนไลน์โดยตลาดหลักเช่นเวียดนามยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องและเริ่มทดลองการขยายตลาดสู่ประเทศอื่นๆอีกตลาดที่โดดเด่นเช่นอินโดนีเซียก็มีการแนะนำให้ขยายกำลังการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

อีกทั้งตลาดที่กำลังเติบโตเช่นออสเตรเลีย ที่มียอดขายสุทธิต่ำกว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐกำลังมุ่งขยายความเติบโตของเทรนด์ในหมู่ผู้บริโภค ตลอดทั้งประเทศญี่ปุ่น ด้วยยอดขายสุทธิต่ำกว่า 25 พันล้านเหรียญสหรัฐ กำลังมุ่งมั่นลงทุนเพื่อเอาชนะกำแพงความต้องการของผู้บริโภคเพื่อสร้างความสำเร็จของเทรนด์ยิ่งขึ้น

ส่วนสินค้ายอดนิยมในตลาด Shoppertainment ได้แก่ แฟชั่นและเครื่องประดับ ความงามและผลิตภัณฑ์ส่วนตัว อาหารและเครื่องดื่ม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และของใช้ในครัวเรือน โดยคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในหมวดหมู่เหล่านี้

โดยปัจจุบัน เป็นยุคทองของคอนเทนต์ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์ม TikTok สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการนำเสนอเนื้อหา ตลอดจนมีการปรับปรุงให้เข้ากับความชอบส่วนบุคคลของผู้บริโภค ก่อให้เกิดประสบการณ์ Shoppertainment ที่ผสานการช้อปปิ้งกับคอนเทนต์sความบันเทิงเข้าไว้ด้วยกัน ส่งผลให้ #TikTokMadeMeBuyIt ที่มียอดผู้เข้าชมมากกว่า 7 หมื่นล้านครั้ง และแฮชแท็กภายในประเทศอย่าง #TikTokป้ายยา ที่มียอดเข้าชมสูงถึง 6 พันล้านครั้ง

3 การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมผู้บริโภคได้แก่

การพิจารณา (Consider): เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการพิจารณาในการตัดสินใจซื้อ โดยผู้ซื้อมีแนวโน้มพิจารณาซื้อสินค้าและบริการโดยใช้สัญชาตญาณของตน (Intuitive Decisions) ประกอบกับการหาชมคอนเทนต์เพื่อยืนยันแนวคิดของตนมากกว่าการตัดสินใจซื้ออย่างเร่งด่วนทันที

การบริโภค (Consume): เกิดการสืบค้นข้อมูลสินค้าและตัดสินใจซื้ออย่างไร้รอยต่อ ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนแปลงจากการรับชมคอนเทนต์สินค้าไปสู่การซื้อสินค้าอย่างง่ายดาย (Effortless Browse-to-Buy) ภายในแพลตฟอร์มดิจิทัลเดียวกัน

การเชื่อมต่อ (Connect): เมื่อผู้บริโภคมีเสรีภาพในการรับชมข้อมูลและการร่วมสร้างสรรค์คอนเทนต์คอมมูนิตี้ส่งผลถึงการเติบโตของคอมมูนิตี้ครีเอเตอร์พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์ให้มีส่วนร่วมต่อกันและกันได้

ในยุคสมัยที่ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แบรนด์ต่างๆ มีแนวโน้มที่จะก้าวข้ามขอบเขตเดิมๆ ด้วยการควบรวมคอนเทนต์และการค้าเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ เพื่อให้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งนี้ แบรนด์ต่างๆ ยังต้องเตรียมพร้อมและก้าวตามให้ทันความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และรอบรู้ถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยไม่ใช่แค่เพื่อการสร้างผลกำไรในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำหรับการเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว โดยที่ TikTok เรามีความมุ่งมั่นในการส่งมอบข้อมูลอันเป็นประโยชน์ให้กับแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปลดล็อกโอกาสทางธุรกิจของแบรนด์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดคุณชลธิชา งามกมลเลิศ – Head of Client Partnership, TikTok กล่าว

เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับเทรนด์ Shoppertainment ที่เติบโตในตลาดเอเชียแปซิฟิกอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะในประเทศไทย ถือเป็นโอกาสสำคัญที่แบรนด์จะสามารถต่อยอดนำข้อมูลจากกงานวิจัยไปใช้บูรณาการกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้ก้าวตามทันเทรนด์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้กำหนดนิยามแห่งอนาคตคุณสุนาถ ธนสารอักษร – Managing Director at Accenture Song, ประเทศไทยกล่าวเสริม