การรถไฟฯ ประกาศงดเดินรถไฟขบวนหลัก สายใต้-เหนือ-อีสาน เพื่อลดการกระจายเชื้อโควิด-19

1999
0
Share:
งดเดิน รถไฟ สายเหนือ-อีสาน-ใต้ ลดการแพร่ โควิด-19

ตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้ออกประกาศ งดเดินขบวนรถพาณิชย์ในเส้นทางสายใต้ สายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การจะคลี่คลาย อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารสามารถเดินทางกับขบวนรถที่มีความใกล้เคียงกับขบวนรถที่ถูกยกเลิกเพื่อเป็นการทดแทนได้ มีรายละเอียดดังนี้
สายใต้
ขบวนที่ยกเลิก
1. ขบวนที่ 31/32 : กรุงเทพ – หาดใหญ่ – กรุงเทพ
2. ขบวนที่ 39 : กรุงเทพ – สุราษฎร์ธานี
3. ขบวนที่ 44 : สุราษฎร์ธานี – กรุงเทพ
4. ขบวนที่ 41/42 : กรุงเทพ – ยะลา – กรุงเทพ
5. ขบวนที่ 83/84 : กรุงเทพ – ตรัง – กรุงเทพ
6. ขบวนที่ 173/174 : กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ
.
ขบวนใกล้เคียงที่สามารถรองรับ
1. ขบวนที่ 37/38 : กรุงเทพ – สุไหงโกลก – กรุงเทพ
2. ขบวนที่ 169/170 : กรุงเทพ – ยะลา – กรุงเทพ
3. ขบวนที่ 167/168 : กรุงเทพ – กันตัง – กรุงเทพ
4. ขบวนที่ 85/86 : กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ


สายเหนือ

ขบวนที่ยกเลิก
1. ขบวนที่ 3/4 : กรุงเทพ – สวรรคโลก – กรุงเทพ
2. ขบวนที่ 13/14 : กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ
3. ขบวนที่ 105/106 : กรุงเทพ – ศิลาอาสน์ – กรุงเทพ
.
ขบวนใกล้เคียงที่สามารถรองรับ
1. ขบวนที่ 7/8 : กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ
2. ขบวนที่ 51/52 : กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ
3. ขบวนที่ 107/108 : กรุงเทพ – เด่นชัย – กรุงเทพ
.

สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ขบวนที่ยกเลิก

1. ขบวนที่ 23/24 : กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ
2. ขบวนที่ 25/26 : กรุงเทพ – หนองคาย – กรุงเทพ
3. ขบวนที่ 136 : อุบลราชธานี – กรุงเทพ
4. ขบวนที่ 145 : กรุงเทพ – อุบลราชธานี
.
ขบวนใกล้เคียงที่สามารถรองรับ
1. ขบวนที่ 67/68 : กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ
2. ขบวนที่ 133/134 : กรุงเทพ – หนองคาย – กรุงเทพ
3. ขบวนที่ 146 : อุบลราชธานี – กรุงเทพ
4. ขบวนที่ 139 : กรุงเทพ – อุบลราชธานี

.
และประชาชนที่ซื้อตั๋วโดยสารขบวนที่ยกเลิกไปแล้ว สามารถติดต่อขอคืนเงินได้ที่ช่องจำหน่ายตั๋วสถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.63 เป็นต้นไป

.
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบสถิติการเดินทางในช่วงเดือนมีนาคม พบว่า ในแต่ละขบวนมีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยประมาณร้อยละ 50 เนื่องจากผู้โดยสารต้องการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 จึงทำการยกเลิกการเดินทางเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังทำการตรวจสอบระบบการสำรองตั๋วโดยสารล่วงหน้าในเดือนเมษายน พบว่ามีจำนวนลดลงอย่างมาก ประกอบกับการขอยกเลิกและคืนเงินค่าโดยสารของผู้โดยสาร เนื่องจากรัฐบาลประกาศยกเลิกวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์