ช็อคแรงงานไทยมีหนี้ในครัวเรือนสูง 99% แถมเกือบ 70% ไม่มีเงินออมแม้แต่บาทเดียว

427
0
Share:
แรงงาน

นางอุมากมล สุนทรสุรัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจ สถานการณ์แรงงานไทยปี 2565 และทัศนคติต่อประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบัน จากกลุ่มตัวอย่าง 12,60 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18-24 เมษายน 2565 พบว่า แรงงานส่วนใหญ่ 52.0% เป็นแรงงานที่อยู่นอกระบบประกันสังคม และ 48.0% อยู่ในระบบประกันสังคม และแรงงานจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31.4% อยู่ในภาคกลาง 22.4% เหนือ 15.7% ใต้ 14.0% และอยู่กรุงเทพ ปริมณฑล 16.5%

นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงงานส่วนใหญ่ไม่มีเงินออมถึง 67.7% และ 32.3% มีเงินออมที่มาจากรายได้ 7.2% และส่วนใหญ่ของแรงงานไม่มีอาชีพเสริม จากการสำรวจเพิ่มเติมยังพบว่า แรงงานปัจจุบันมีหนี้ครัวเรือนสูงถึง 99% ซึ่งสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 จาก 95%

โดยการสร้างหนี้ส่วนใหญ่มาจาก การใช้จ่ายประจำวัน หนี้บัตรเครดิต สูงที่สุด และนำเงินไปใช้เงินกู้ รองลงมาเป็นหนี้ที่เกิดจากที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

เมื่อมีภาระหนี้สินทำให้ต้องชำระหนี้ต่อเดือน เช่น ในระบบ เฉลี่ยอยู่ที่ 7,839 บาทต่อเดือน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 7.68% ต่อปี ชำระหนี้ในระบบ เฉลี่ย 3,755 บาทต่อเดือน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 12.57% ต่อเดือน และทำให้พบว่า 1 ปีที่ผ่านมา แรงงานส่วนใหญ่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ 68.5% ที่ผิดชำระหนี้มีเพียง 31.5%

สาเหตุที่ผิดชำระหนี้ มาจาก หนี้เยอะ ค่าครอบชีพสูง รายได้ไม่พอ ทั้งนี้ เมื่อผิดชำระหนี้ทำให้แรงงานประสบปัญหาการใช้จ่ายใน 3 เดือนข้างหน้าลดลง 48.3% แม้ปัจจุบันการใช้จ่ายเท่าเดิมก็ตาม

อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายของแรงงานยังคงใช้จ่ายเท่าเดิมที่ 48.9% เพราะไม่ต้องการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ หอกาค้าไทย ยังสำรวจทัศนะทั่วไปของแรงงานไทยในปัจจุบัน พบว่าแรงงานยังกังวลปัญหาด้านเศรษฐกิจของไทย ราคาสินค้าในอนาคต การแพร่ระบาดของโควิด การใช้หุ่นยนต์มาแทนแรงงาน เป็นต้น และสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแล คือ ค่าครองชีพ ราคาสินค้า การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ การว่างงาน และปัจจุบันยังพบว่าแรงงานลดการใช้จ่ายลงทั้งด้านท่องเที่ยว ซื้อสินค้าคงทน เช่น ตู้เย็น ทีวี เป็นต้น