ดัชนีหุ้นดาวน์โจนส์ปิดพุ่งกว่า 370 จุด น้ำมันดิบโลกปิดพุ่งเหนือกว่า 86 ดอลลาร์

320
0
Share:
ดัชนี หุ้น ดาวน์โจนส์ ปิดพุ่งกว่า 370 จุด น้ำมันดิบโลกปิดพุ่งเหนือกว่า 86 ดอลลาร์

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 (ตามเวลาในสหรัฐ) ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปิดที่ระดับ 34,245 จุด +376 จุด หรือ +1.11% ดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ระดับ 4,137 จุด +46 จุด หรือ +1.14% และดัชนีหุ้นนาสแดค ปิดที่ระดับ 11,891 จุด +173 จุด หรือ +1.48% ในสัปดาห์ผ่านไป ดัชนีหุ้นสำคัญทั้ง 3 แห่ง ปิดลดลง -0.17%, -1.11% และ -2.41% ตามลำดับ ส่งผลดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 และนาสแดค ทำสถิติรายสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 5 สัปดาห์ หรือตั้งแต่เดือนธันวาคม 2022

สาเหตุจากนักลงทุนรอติดตามการประกาศตัวเลขดัชนีเงินเฟ้อผู้บริโภคเดือนมกราคมในคืนวันนี้ โดยให้น้ำหนักกับแนวโน้มตัวเลขดังกล่าวลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดไม่มากขึ้น ขณะที่ราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และค้าปลีกนำตลาดทั้งคืนผ่านมา

ราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ 80.14 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล +0.42 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือ +0.5% รวม 2 วัน ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น +2.08 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือ +2.6%

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 มีราคาพุ่งขึ้นสูงสุดที่ 130.50 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ทำสถิติราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ที่สูงสุดนับตั้งแต่กันยายน 2008 หรือในรอบ 13 ปี 5 เดือน ทำให้ราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ปิดเพิ่มขึ้น 5 วันทำการติดต่อกัน ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือนครึ่ง หรือตั้งแต่ตุลาคม 2022

ด้านราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ ทะเลเหนือ ปิดที่ 86.61 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล +0.22 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือ +0.63% รวม 2 วัน ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น +2.11 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือ +2.5%

ในปีผ่านไปราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ มีราคาสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2008 หรือในรอบ 13 ปี 7 เดือน โดยเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565 มีขึ้นมาสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 139.13 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

ในสัปดาห์ผ่านไป ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกทั้ง 2 แห่ง ปรับขึ้น +8.6% และ +8.1% ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังเป็นราคารายสัปดาห์ที่ปิดสูงสุดในรอบ 4 เดือน หรือตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2022

สาเหตุจากรัสเซียประกาศลดกำลังการผลิตลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน มีผลในมีนาคมเป็นต้นไป เพื่อตอบโต้มาตรการจำดัดเพดานราคาน้ำมันสำเร็จรูปของโลกตะวันตกที่มีผลตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา

ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ 1,863.50 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -11.00 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.6% ขณะที่ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ระดับ 1,854.04 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ -10.06 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือ -0.57%

ย้อนกลับไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม ในช่วงระหว่างวัน พบว่าราคาทองคำพุ่งทะยานสูงถึง 1,956.60 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 เดือนครึ่ง หรือนับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2022 ซึ่งในวันนั้น ทองคำมีราคาที่ระดับ 1,957.80 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ในปีผ่านไปเมื่อเดือนมีนาคม 2565 ราคาทองคำล่วงหน้ามีราคาสูงสุดระหว่างวันขึ้นไปถึง 2,072.50 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2020 หรือในรอบ 18 เดือน

สาเหตุจากนักลงทุนรอฟังผลตัวเลขดัชนีเงินเฟ้อผู้บริโภคเดือนมกราคมที่จะประกาศในวันอังคารนี้ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว 0.4% เพิ่อประเมินมุมมองและแนวโน้มดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดสุดท้ายในช่วงเดือนกรกฎาคมที่อาจสูงกว่าระดับ 5.15%