ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปิดขึ้นเกือบ 30 จุด น้ำมันดิบโลกปิดร่วงหลุด 87 ดอลลาร์

274
0
Share:
ดัชนี หุ้น ดาวโจนส์ ปิดขึ้นเกือบ 30 จุด น้ำมันดิบโลกปิดร่วงหลุด 87 ดอลลาร์

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2566 (ตามเวลาในสหรัฐ) ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปิดที่ระดับ 33,978 จุด +28 จุด หรือ +0.08% ดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ระดับ 4,070 จุด +10 จุด หรือ +0.25% และดัชนีหุ้นนาสแดค ปิดที่ระดับ 11,621 จุด +109 จุด หรือ +0.85%

ในสัปดาห์นี้ ดัชนีหุ้นสำคัญทั้ง 3 แห่ง ปิดเพิ่มขึ้น +1.81%, +2.47% และ +4.32% ตามลำดับ ไม่เพียงส่งผลให้ดัชนีหุ้นนาสแดคปิดรายสัปดาห์ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน แต่ยังทำสถิติรายเดือนที่ดีที่สุดในรอบ 6 เดือน หรือตั้งแต่กรกฎาคม ปี 2022 ที่ผ่านมาด้วย ขณะที่ ดัชนีหุ้นสำคัญทั้ง 3 แห่ง ทะยานขึ้น +2.5%, +6.0% และ +11-% ตามลำดับตั้งแต่ต้นปีนี้มาถึงคืนผ่านมา

สาเหตุจากผลประกอบการของบริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรส และเทสลา อินคอร์ปอเรชั่น ออกมาดีอย่างมาก นอกจากนี้ ตัวชี้วัดโอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ CME พบว่านักลงทุนให้น้ำหนักลดลงมาเหลือ 96% ที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวเพียง 0.25% ในการประชุมนัดแรกของปีนี้ในวันที่ 31 มกราคมถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้

ราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ 79.68 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล -1.33 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือ -1.6% ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 มีราคาพุ่งขึ้นสูงสุดที่ 130.50 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ทำสถิติราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ที่สูงสุดนับตั้งแต่กันยายน 2008 หรือในรอบ 13 ปี 5 เดือน ทำให้ราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ปิดเพิ่มขึ้น 5 วันทำการติดต่อกัน ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือนครึ่ง หรือตั้งแต่ตุลาคม 2022

ด้านราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ ทะเลเหนือ ปิดที่ 86.66 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล -0.81 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือ -0.9% ในปีผ่านไปราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ มีราคาสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2008 หรือในรอบ 13 ปี 7 เดือน โดยเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565 มีขึ้นมาสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 139.13 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

ในสัปดาห์ผ่านไป ราคาน้ำมันดิบทั้ง 2 ตลาดสำคัญ ปรับสวนทางกัน โดย -2% และ +0.2% ตามลำดับ

สาเหตุจากรายงานคาดการณ์การส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือทะเลบอลติกของรัสเซียจะเพิ่มขึ้น 50% ในเดือนมกราคมนี้เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมในปี 2022 ขณะที่ นักลงทุนรอการประชุมทั้งธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาในวันที่ 31 มกราคมถึง 1 กุมภาพันธ์ และการประชุมกลุ่มโอเปกพลัสในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เพื่อประเมินสถานการณ์ตลาดน้ำมันดิบอีกครั้ง

ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ 1,930.20 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ระดับ 1,931.61 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ +2.18 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หรือ +0.1% ในสัปดาห์ผ่านไป ราคาทองคำตลาดโลกปิดเพิ่มขึ้น +0.2%

ในปีผ่านไปเมื่อเดือนมีนาคม 2565 ราคาทองคำล่วงหน้ามีราคาสูงสุดระหว่างวันขึ้นไปถึง 2,072.50 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2020 หรือในรอบ 18 เดือน

สาเหตุจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพลิกกลับแข็งค่า 0.1% ต่อเนื่องสอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอายุ 10 ปี กลับอยู่ในระดับสูง หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่ 4 ปี 2022 ขยายตัวดีกว่าที่คาด จึงกลายเป็นปัจจัยกดดันต่อการตัดสินใจกับแนวโน้มดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดที่จะต้องอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง

ขณะที่ตัวชี้วัดโอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ CME พบว่านักลงทุนให้น้ำหนักลดลงมาอยู่ที่ 96% ที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวเพียง 0.25% ในการประชุมนัดแรกของปีนี้ในวันที่ 31 มกราคมถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้