ตลาดหลักทรัพย์รีบแจงจองซื้อไฟเซอร์จากโรงพยาบาลเอกชน ไม่ได้ตัดล็อตไฟเซอร์จากการบริจาคของรัฐบาลสหรัฐ

552
0
Share:

เมื่อวานนี้ 22 กรกฎาคม 2564 นายตรัยวัชร์ ไตรรัตน์วรกุล ซึ่งเป็นลูกชายของนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ อดีตเลขาธิการก.ล.ต. ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับกระแสข่าวสถาบันตลาดทุนขนาดใหญ่จองวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ไฟเซอร์ มีดังนี้

EDIT: ได้รับการชี้แจงจากองค์กรดังกล่าวแล้วนะครับ
ต้องขอขอบคุณที่สละเวลาชี้แจงและให้ข้อมูลเพิ่มเติม และต้องขอประทานโทษ ถ้าทำให้รู้สึกไม่สบายใจ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่วัคซีน MRNA ที่กำลังเข้ามาจะนำไปให้คนที่ต้องการจริงๆ อย่างทั่วถึง โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อและสถานะทางสังคม

ที่ได้รับการชี้แจงมีดังต่อไปนี้ (อยากให้ทุกคนที่อ่านโพสต์แรกได้อ่านด้วยนะครับ)
1. การจองไฟเซอร์ขององค์กรนี้จะไม่ใช่จากล็อตที่สหรัฐอเมริกาบริจาคให้ 1.5 ล้านโดส

2. การจองไฟเซอร์ขององค์กรนี้จะไม่ใช่จากล็อตที่กรมควบคุมโรคพึ่งสั่งซื้อให้ 20 ล้านโดส

3. องค์กรดังกล่าวจะซื้อผ่าน รพ เอกชน ในล็อตที่ทางภาคเอกชนกำลังเจรจาอยู่และทางองค์กรจะจ่ายเงินเอง

4. สิทธิในการจองสำหรับพนักงานทุกคนในองค์กรเหมือนกัน

5. ส่วนเหลือจากที่พนักงานจองจะมีการบริจาคให้ฟรีสำหรับประชาชนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน

——————————————-

ความเห็นส่วนตัวจากข้อมูลที่ชี้แจง

1. ถ้าไม่ได้มีการเบียดแย่งโควต้าของรัฐบาลโดยเฉพาะ 1.5 ล้านโดสที่สหรัฐอเมริกาบริจาคมาให้ frontline workers — ตรงนี้ทำให้สบายใจขึ้นครับ

2. ***การจัดอันดับความสำคัญในการฉีดวัคซีนควรจะถูกจัดโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบาดวิทยา ไม่ใช่ตามกำลังซื้อของแต่ละองค์กร*** – จริงๆ แล้วไม่ควรให้เอกชนต้องดิ้นรนนำเข้ามา และจ่ายตังค์เองด้วย แต่รัฐบาลควรจะเป็นคนเจรจา และจัดซื้อหามาเองทั้งหมดให้ครบจำนวน นี่คือความลักลั่นของรัฐบาลที่ทำให้การจัดสรรวัคซีนไม่ทั่วถึง กลายเป็นว่าคนที่เป็นแรงงานนอกระบบ คนตกงาน คนที่ทำกิจการเอง พนักงานองค์กรขนาดเล็ก และคนที่ไม่เงิน อาจจะไม่เข้าถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่สุดจะทำให้จำกัดการแพร่ระบาดไม่ได้ – ตรงนี้ความผิดรัฐบาลครับ และจริงๆ แล้วอยากให้รัฐบาลควบคุมการจัดสรรและแจกฟรีให้กับทุกคน เข้าใจว่าเอกชนตอนนี้แต่ละคนพยายามเอาตัวรอด แต่ถ้าเป็นเช่นนี้เราคงไม่มีทางหยุดการระบาดได้ กลายเป็น tragedy of the commons

3. คนที่ฉีด AZ 2 เข็มแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องฉีดเข็ม 3 และควรเป็น last priority ครับ จากข้อมูลวิจัยใน New England Journal of Medicine AZ 2 เข็มยังมี 67% effectiveness กับสายพันธุ์เดลต้า — ยังไงการบูสเข็ม 3 กับ white collar workers ที่ได้รับ AZ 2 เข็มแล้วยังถือว่าเป็น luxury ครับ ยืนยันว่าควรให้คนที่ไม่ได้ฉีดก่อน

ปัจจุบันประเทศฉีดวัคซีนสองเข็มไปเพียงแค่ 5% ของประชากร หนึ่งเข็มแค่ 16% โดยถ้าไม่นับคนฉีดวัคซีนเชื้อตายเราฉีด AZ เข็มแรกไป 6.2 ล้านโดสหรือเพียงแค่ 9.5% ของประชากรทั้งหมด

——————-
Original post: โพสต์ดั้งเดิมในประเด็นสถาบันตลาดทุนขนาดใหญ่จองวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ไฟเซอร์

“ไม่เคยรู้สึกผิดหวังกับผู้ใหญ่ที่ควรจะเป็นที่น่าเคารพในสังคมขนาดนี้มาก่อน

ในสภาวะที่วัคซีนยังขาดแคลนในประเทศ คนด้อยโอกาสยังไม่ได้ฉีดวัคซีน บุคลากรทางแพทย์ด่านหน้าได้เพียงแค่วัคซีนซิโนแวค 2 เข็มซึ่งไม่สามารถปกป้องพวกเค้าจากเชื้อสายพันธ์ุเดลต้าได้

มีองค์กรในแวดวงการเงินแห่งหนึ่ง (ไม่ใช่ภัทรที่ผมเคยทำงานนะครับ) ทำการเสนอให้จองวัคซีนไฟเซอร์ที่กำลังจะเข้ามาในไทยเป็น booster dose ให้กับกลุ่ม VIP คณะกรรมการ ผู้บริหาร ซึ่งต่างก็ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (หรืออย่างน้อย 1 เข็ม)

(EDIT: ทางนั้นอ้างว่าเป็นแค่ฟอร์มแสดงเจตจำนงค์ ยังไม่ได้รับการจัดสรรนะครับ)

ผมต้องการแชร์โพสต์นี้เพราะรู้ว่าบางท่านที่เป็นเพื่อนผมบนเฟสบุ๊คก็น่าจะอยู่ในคณะกรรมการนี้หรือรู้จักกับผู้บริหารองค์กรนี้เป็นอย่างดี อยากให้หยุดสิ่งที่พวกคุณจะทำเดี๋ยวนี้ (หรือไปบอกให้พวกท่านๆ หยุด) และนำวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้าน + 1.5 ล้านโดสที่กำลังจะเข้าไทยไปให้บุคลากรทางแพทย์ด่านหน้า frontline workers คนในชุมชนแออัด พนักงานโรงงาน พนักงานขนส่ง (แท็กซี่ แกร็บ วินมอเตอร์ไซร์ etc) รวมถึงคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเลยก่อน…

…พวกท่านๆ ยังสามารถ work from home ได้ ประชุมบอร์ดก็ทำผ่าน Zoom กับ Google Meet แต่คนเหล่านี้ในสังคมเค้าไม่มีทางเลือกนี้ครับ

ขอร้องเถอะครับ วิกฤตแบบนี้อย่าเห็นแก่ตัวกันมากนักเลย สังคมตอนนี้ทนไม่ไหวกับการ abuse privilege ของอีลีททั้งหลายแล้ว มันจะกลับมา backfire ท่านๆ เสียเอง

โดยรู้สึกผิดหวังกับผู้ใหญ่ ในองค์กรแวดวงการเงิน ขนาดใหญ่ ที่คิดเห็นแก่ตัวเบียดเบียน “วัคซีนไฟเซอร์” ที่จะเข้ามาในไทย เป็น booster dose ให้กับกลุ่ม วีไอพี คณะกรรมการ ผู้บริหาร”