ต้องหั่น! ดัชนีหุ้นไทยซอมบี้ ลดเป้าสิ้นปีลงอีกกว่า 30 จุด ตบจีดีพีไทยปีนี้หลุด 2.9%

251
0
Share:

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน เปิดเผยผลการสำรวจความเห็นสมาชิกนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนรวม 26 สำนัก พบว่า คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทย หรือตัวเลขจีดีพีไทยปี 2566 ลดลงจากเดิมอยู่ที่ 3.38% เหลือ 2.85% สำหรับปี 2567 คาดว่าจะขยาบตัวที่ระดับ 3.56% สำหรับปัจจัยบวกที่มีผลต่อทิศทางการลงทุนในตลาด หุ้นไทย จนถึงสิ้นปีนี้ ได้แก่ 100% คือ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนปี 2567 รองลงมา 73.08% คือ เศรษฐกิจภายในประเทศและปัจจัยทางการเมืองในประเทศ ต่อมา 57.69% เม็ดเงินลงทุนต่างชาติ ด้านปัจจัยด้านลบ ได้แก่ 80% มองเรื่องการเมืองในต่างประเทศ รองลงมาคือ 68% เป็นเรื่องทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอ ขณะที่ 64% เศรษฐกิจโลก 64% และ 60% ทิศทางดอกเบี้ยในประเทศ

ขณะที่มุมมองการลงทุนในไตรมาส 4 ปี 2566 อยู่ภายใต้ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยของปี 2566 ปรับขึ้นจากเดิมที่ 80.53 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขึ้นมาเป็น 83.02 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

สำหรับการคาดการณ์จุดสูงสุดของดัชนีหุ้นไทยช่วงเดือนตุลาคมธันวาคม 2566 พบว่า เฉลี่ยที่ระดับ 1,619 จุด ท่า มกลางจุดต่ำสุดอยู่ที่ 1,468 จุด ส่วนเป้าหมายดัชนีในวันสิ้นปี 2566 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,606 จุด ลดลง 34 จุดจากระดับคาดการณ์ครั้งก่อนหน้าที่เคยอยู่ที่ 1,630 จุด

การคาดการณ์กำไรสุทธิต่อหุ้นปี 2566 ของตลาดเฉลี่ยที่ 89.04 บาท ปรับลดจากครั้งก่อนซึ่งอยู่ที่ 93.21 บาทต่อหุ้น ในครั้งนี้คาดการณ์การขยายตัวของกำไรสุทธิต่อหุ้นของปี 2566 อยู่ที่ 6.51% ส่วนคาดการณ์กำไรสุทธิต่อหุ้นปี 2567 ของตลาดเฉลี่ยจะขึ้นไปที่ 99.47 บาท และคาดว่ากำไรสุทธิต่อหุ้นของปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 12.03%

นักวิเคราะห์แนะนำให้มีการกระจายพอร์ตการลงทุน ประกอบด้วย 14.80% เป็นเงินสดและเงินฝากระยะสั้น ขณะที่ 21.20% เป็นกองทุนตราสารหนี้ อีก 25.68% เป็นหุ้นไทยหรือกองทุนหุ้นไทย และ 24.12% เป็นหุ้นหรือกองทุนหุ้นต่างประเทศ สำหรับทองคำหรือกองทุนทองคำให้สัดส่วนที่ 7.7% และ 6.5% เป็นกองทุนอสังหาฯหรือ REIT

สมาชิกนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนรวม 26 สำนัก มองการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง. ธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2567 นั้น มีนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ถึง 77.28% ที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 2.50% รองลงมามี 9.09% มองว่าจะลงไปที่ 2.25% แต่มี 9.09% เท่ากันมองสวนว่ายังจะขึ้นต่อไปที่ 2.75% และมีผู้ตอบ 4.55% มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นไปอยู่ที่ 3%” นายสมบัติ กล่าว

สมาคมนักวิเคราะห์ยังได้แนะนำรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายที่จะมีผลบวกต่อภาวะเศรษฐกิจ มีความคุ้มค่ากับผลกระทบทางงบประมาณ โดยส่วนใหญ่เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แยกเป็นการลงทุนภาครัฐที่สนับสนุนศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ เร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น Land Bridge  ถัดมาคือด้านการช่วยเหลือภาคธุรกิจ ได้แก่ นโยบายกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์และกระตุ้นการท่องเที่ยวไทย ดึงเงินลงทุนต่างชาติเข้ามาในอุตสาหกรรม New S Curve และเสนอนโยบายช่วยเหลือภาคประชน ได้แก่ เร่งพัฒนาแรงงานไทย กระตุ้นการจ้างงาน ลดการแจกเงินทั่วไป เพิ่มการแจกเงินเฉพาะกลุ่มรวมถึงช่วยเหลือภาระหนี้ของเกษตรกร ข้าราชการด้วย