ถล่มหุ้นยับ! ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปิดดิ่งเหวกว่า 400 จุด น้ำมันดิบโลกปิดขึ้นใกล้ 91 ดอลล์

191
0
Share:
ถล่มหุ้นยับ! ดัชนี หุ้น ดาวโจนส์ ปิดดิ่งเหวกว่า 400 จุด น้ำมันดิบโลกปิดขึ้นใกล้ 91 ดอลล์

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2023 (ตามเวลาในสหรัฐ) ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปิดที่ระดับ 33,002 จุด -430 จุด หรือ -1.29% ดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ระดับ 4,229 จุด -58 จุด หรือ -1.37% และดัชนีหุ้นนาสแดค ปิดที่ระดับ 13,059 จุด -248 จุด หรือ -1.87%

สาเหตุจากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอายุ 10 ปี เพิ่มสูงขึ้นแตะที่ระดับ 4.8% ทำสถิติที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 16 ปีครั้งใหม่ หรือนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2007 เป็นต้นมา นอกจากนี้ นักลงทุนยังไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาหลังจากสภาครองเกรส สหรัฐอเมริกา อนุมัติกฎหมายงบประมาณชั่วคราว ทำให้สหรัฐอเมริการอดพ้นภาวะรัฐบาลปิดทำการ หรือ Government Shutdown

ตัวชี้วัดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่เรียกว่า เฟดวอช์ท พบว่า โอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นในการประชุมเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 41% จากเดิมที่โอกาสตรึงดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ที่ 50%

ราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ 89.23 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล +0.41 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ส่งผลหยุดราคาน้ำมันดิบปรับลดลง 3 วันติดกันรวม -4.86 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ก่อนหน้านี้ เมื่อคืนวันพุธในสัปดาห์ผ่านมา มีราคาสูงสุดระหว่างวันที่ 94 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 มีราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ สหรัฐอเมริกา พุ่งขึ้นสูงสุดที่ 130.50 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ทำสถิติราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ที่สูงสุดนับตั้งแต่กันยายน 2008 หรือในรอบ 13 ปี 5 เดือน

ด้านราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ ทะเลเหนือ ปิดที่ 90.92 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล +0.21 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ดีดกลับจากราคาน้ำมันดิบที่ปิดลงต่ำสุดใน 3 สัปดาห์ ส่งผลให้หยุดราคาน้ำมันดิบปรับลดลง 3 วันติดกันรวม -2.73 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ก่อนหน้านี้ โดยเมื่อคืนวันพุธในสัปดาห์ผ่านไป มีราคาสูงสุดระหว่างวันที่ 97 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

ในปี 2022 ผ่านไปราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ มีราคาสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2008 หรือในรอบ 13 ปี 7 เดือน โดยเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565 มีขึ้นมาสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 139.13 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

สาเหตุนักลงทุนกลับมาให้น้ำหนักกับความกังวลเกี่ยวกับภาวะตลาดน้ำมันดิบตึงตัว หลังจากกลุ่มโอเปกพลัสเปิดเผยรายงานสถานการณ์น้ำมันดิบประจำเดือน พบว่า ประเมินความต้องการบริโภคน้ำมันดิบทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอีกวันละ 2.24 ล้านบาร์เรลในปีนี้ ในขณะที่ประเมินปีหน้า 2024 ทั้งความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้น 2.25 ล้านบาร์เรล และปริมานการผลิตน้ำมันดิบทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากประเมินสัญญาณฟื้นตัวของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่

อีไอเอ ยังคาดการณ์ต่อไปว่า สต็อกน้ำมันดิบทั่วโลกจะลดลงถึงเกือบ 500,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ส่งผลให้ประเมินราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ ทะเลเหนือ จะมีราคาเฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ สูงถึง 93 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

นอกจากนี้ นักลงทุนให้น้ำหนักปัจจัยซาอุดีอาระเบียประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบต่อเนื่อง โดยลดผลิตลงวันละ 1 ล้านบาร์เรลอีก 3 เดือน มีผลตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2023 สอดคลัองกับรัฐบาลประเทศรัสเซียประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบต่อเนื่อง โดยลดผลิตลงวันละ 300,000 บาร์เรลอีก 3 เดือน มีผลตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2023 เช่นเดียวกัน ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกพลัสจะลดลงถึงวันละ 1.3 ล้านบาร์เรลนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2023

ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 1,822.42 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -12.98 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.3% ขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 1,840.00 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -13.00 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.4% ไม่เพียงทำสถิติราคาปิดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 7 เดือน หรือนับตั้งแต่วันที่ 10 เดือนมีนาคมเป็นต้นมา แต่ยังส่งผลให้ราคาทองคำตลาดโลกดำดิ่ง 7 วันติดต่อกันมากกว่า 98 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์

นอกจากนี้ ในเดือนกันยายน พบว่าราคาทองคำตลาดโลกร่วงลง -4.6% หรือดำดิ่งมากถึง 99 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ สอดคล้องกับราคาทองคำรายไตรมาส ปิดร่วงลง -3.6% ที่สำคัญ นับตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ซึ่งทองคำมีราคาเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์นั้น ราคาทองคำตลาดโลกดำดิ่งลงเหวถึง 230 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือทรุดลงหนักกว่า -11%

เมื่อกลางเดือนเมษายนผ่านไป ราคาทองคำล่วงหน้ามีราคาปิดสูงสุดในรอบ 1 ปีที่ 2,048.71 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จากวิกฤตธนาคารเอสวีบี และเอสบี ปิดกิจการและถูกควบคุมโดยทางการสหรัฐอเมริกา

ย้อนกลับไปในปี 2022 ผ่านไปเมื่อเดือนมีนาคม พบว่าราคาทองคำล่วงหน้ามีราคาสูงสุดระหว่างวันขึ้นไปถึง 2,072.49 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์

สาเหตุจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 0.4% มาทำระดับสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 10 เดือน หรือตั้งแต่มีนาคมเป็นต้นมา สอดรับกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาทั้งอายุ 10 ปี ที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 4.8% ทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 16 ปีครั้งใหม่ หรือตั้งแต่พฤศจิกายนปี 2007 และในรอบ 17 ปี หรือตั้งแต่กรกฎาคมปี 2006 ตามลำดับ สะท้อนถึงภาวะอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสหรัฐอเมริกาอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง