นักวิจัยจีนเผยฉีดวัคซีนจีนสูตรไขว้ ซิโนแวค ภูมิต้านทานตกใน 2 สัปดาห์หลังฉีด

405
0
Share:

นักวิจัยจีนเผยฉีดวัคซีนจีนสูตรไขว้ เชื้อตาย(ซิโนแวค)ตามด้วยไวรัลเวคเตอร์ พบภูมิต้านทานตกใน 2 สัปดาห์หลังฉีด
.
นักวิจัยในจีนแผ่นดินใหญ่ เปิดเผยว่า ได้มีการทดลองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 แบบสูตรไขว้ในลักษณะฉีดด้วยเชื้อตายและตามด้วยเทคโนโลยีไวรัล เวคเตอร์ ซึ่งคล้ายกับการฉีดวัคซีนซิโนแวคและตามด้วยแอสตร้าเซเนก้า การทดลองดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทำการศึกษาเกี่ยวกับการกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วยวัคซีนที่ผลิตจากเทคโนโลยีไวรัล เวคเตอร์ หลังจากการฉีดวัคซีนที่ผลิตจากเทคโนโลยีเชื้อตาย
.
สำหรับการทดลองของนักวิจัยจีนในครั้งนี้ เลือกใช้วัคซีนฉีดสูตรไขว้ 2 ยี่ห้อ ได้แก่ วัคซีนยี่ห้อซิโนแวคที่ผลิตจากเทคโนโลยีเชื้อตาย และวัคซีนยี่ห้อคอนวิดีเซียที่ถูกผลิตขึ้นในจีนด้วยเทคโนโลยีไวรัล เวคเตอร์ ที่เป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับบวัคซีนยี่ห้อแอสตร้าเซเนก้า
.
การทดลองเริ่มจากมีการแบ่งกลุ่มการฉีดวัคซีนออกเป็น 4 กลุ่ม โดยมีอาสาสมัครจำนวน 300 คน มีอายุตั้งแต่ 18-59 ปี โดยแบ่งเป็น 200 คนทั้งหมดนี้ได้รับการฉีดวัคซีนแบ่งเป็น ฉีดวัคซีนซิโนแวคจำนวน 100 คน และฉีดวัคซีนคอนวิดีเซียจำนวน 100 คน และอีก 100 คนไม่ได้รับการฉีดวัคซีนแต่อย่างใด ดังนี้
กลุ่ม 1: ซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วยคอนวิดีเซีย
กลุ่ม 2: ซิโนแวค 3 เข็ม
กลุ่ม 3: ซิโนแวค 1 เข็ม ตามด้วยคอนวิดีเซีย
กลุ่ม 4: ซิโนแวค 2 เข็ม
.
ผลการทดลอง พบว่า เมื่อวัดค่าภูมิคุ้มกัน 2 และ 4 สัปดาห์ หลังได้รับการวัคซีนครบสูตรก่อน พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ถึงจะมีผลยืนยันว่า การฉีดวัคซีนไวรัล เวคเตอร์ เพื่อกระตุ้นหลังวัคซีนเชื้อตาย จะช่วยให้มีค่าภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นจริง
.
ที่น่าสนใจอย่างมากตากการทดลองในครั้งนี้ พบว่า ในระยะห่างกันเพียง 2 สัปดาห์ โดยระหว่าง สัปดาห์ที่ 2 กับสัปดาห์ที่ 4 ค่าภูมิคุ้มกันในร่างกายตกลงมา โดยเฉพาะในกลุ่ม 1 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไวรัล เวคเตอร์ ถึงแม้ว่าค่า T Cell ในแต่ละกลุ่มจะไม่ต่างกันมากนักก็ตาม
.
ทั้งนี้ งานวิจัยหลายครั้งและหลายสถาบันจากทั่วทุกมุมโลก รวมถึงงานวิจัยจากประเทศไทย พบว่าวัคซีนซิโนแวคไม่มีประสิทธิภาพมากพอในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์เดลต้าได้เมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนยี่ห้ออื่นๆที่ผลิตจากเทคโนโลยีแตกต่างกัน สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติจีนแผ่นดินใหญ่ นอกจากนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดแห่งมณฑลเจียงซูได้ทำการตรวจสอบการทำงานวิจัยชิ้นนี้ตลอดเวลาด้วย