“นักวิจัยบราซิล” พบโมเลกุลจากพิษ ‘งูจาราราคัตสุ’ ยับยั้งการแพร่พันธุ์โควิด

506
0
Share:

“นักวิจัยบราซิล” พบโมเลกุลจากพิษ ‘งูจาราราคัตสุ’ สามารถยับยั้งการแพร่พันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรน่าได้
.
วารสารวิทยาศาสตร์ชื่อโมเลกุล ได้รายงานว่า ราฟาเอล กุยโด ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเซาเปาโล และนักวิจัยพบว่า โมเลกุลในพิษงูพันธุ์จาราราคัตสุ (Jararacussu) สามารถยับยั้งการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้ถึง 75% ซึ่งพบว่าโมเลกุลนี้เป็นเปปไทด์ที่สามารถเชื่อมต่อเอนไซม์ของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่เรียกว่า PLPro โดยมีความสำคัญต่อการสืบพันธุ์ของไวรัส โดยไม่ทำอันตรายต่อเซลล์อื่นๆ เนื่องจากเปปไทด์มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย และเปปไทด์สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องนำมาจากงู
.
ทางด้าน กุยเซพเพ พูเอโต นักสัตววิทยาของสถาบันบูตันตัน ประเทศบราซิล ได้กล่าวว่า การเผยเเพร่ผลวิจัยฉบับนี้ต้องระมัดระวังหลังจากได้แพร่ออกไปว่า จะมีคนตามไล่ล่าจับงูจาราราคัตสุทั่วบราซิล เพราะคิดว่าจะช่วยกอบกู้โลก ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษาที่ชี้ชัดว่า พิษงูจะรักษาไวรัสโคโรน่าได้ ซึ่งงูสายพันธุ์จาราราคัตสุ เป็นงูที่ใหญ่ที่สุดในบราซิล อาศัยอยู่ในป่าชายฝั่งแอตแลนติก และยังพบในโบลิเวีย ปารากวัย และอาร์เจนตินา
.
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเซาเปาโล ได้เผยว่า นักวิจัยจะประเมินประสิทธิภาพของโมเลกุลแต่ละโดสในปริมาณที่แตกต่างกันว่า สามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ตั้งแต่แรกได้หรือไม่ โดยจะทำการทดสอบในเซลล์มนุษย์ต่อไป