นักเศรษฐศาสตร์โนเบลเผยแห่เก็งกำไรคริปโทฯไม่ต่างจากก่อนเกิดวิกฤตซับไพร์ม

970
0
Share:

ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน (Paul Krugman) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชื่อดังระดับโลกในสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่าความเคลื่อนไหวในตลาดคริปโทเคอร์เรนซีมีความคล้ายคลึงที่ชวนให้เกิดความไม่สบายใจ ซึ่งคล้ายคลึงกับเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาล่มสลายจากสถาบันการเงินด้วยเครื่องมือการเงินอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกว่า ซับไพรม์ (Subprime) เมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาปล่อยกู้ให้กับคนที่มีความเสี่ยงสูงช่วงที่ดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์ เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้นภายหลัง ลูกค้าชำระหนี้ไม่ทัน นอกจากนี้ นักลงทุนคริปโทฯ ไม่เข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง

นักลงทุนที่กู้ยืมเงินหลายคนไม่เข้าใจว่าพวกเขาเข้าไปทำอะไร และสกุลเงินดิจิทัลซึ่งมีความผันผวนของราคามหาศาลซึ่งดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานนั้น มีความเสี่ยงพอๆ กับสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง

พอล ครุกแทน มองว่า อย่างไรก็ตาม ไม่คิดว่าตลาดคริปโทฯ จะเป็นความเสี่ยงต่อระบบการเงินเหมือนอย่างวิกฤตซับไพร์ม ซึ่งในเวลานั้น หรือเมื่อปี 2008 เมื่อตลาดซับไพร์มล่มสลาย ได้ทำให้เกิดวิกฤตการเงินโลกที่ลุกลามไปทั่ว เนื่องจากมูลค่าของตลาดคริปโทฯ อาจจะยังไม่ได้ใหญ่มากพอที่จะทำให้เกิดวิกฤตในขนาดความเสียหายเดียวกัน

ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน เป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งของโลก ที่มีความสงสัยกับตลาดเงินคริปโทฯ มาโดยตลอด พอล ครุกแมน ได้เขียนบทความความเห็นปี 2018 ที่ชื่อ Why I’m a Crypto Skeptic โดยชี้ว่าเงินคริปโทฯไม่ได้อิงกับมูลค่าที่แท้จริง และมีต้นทุนที่สูงเกินไป สวนทางการตัวกลางในการแลกเปลี่ยนที่ต้องถูกลงๆ เมื่อเวลาผ่านไป คือ ตอนแรกใช้ทองคำ ในเวลาต่อมาใช้วัตถุตัวแทนทองคำแต่อิงกับทองคำ คือเงินกระดาษ

ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล พอล ครุกแมน กล่าวเมื่อตั้งแต่ปี 2017 ว่า เงินบิทคอยน์ซึ่งตอนนั้นราคาสูงเป็นประวัติการณ์ กำลังอยู่ในฟองสบู่ และชี้ว่าฟองสบู่ของตลาดเงินบิทคอยน์จะลากยาว จนกระทั่งในบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 พอล ครุกแมน ก็ยังบอกว่าฟองสบู่บิทคอยน์จะยืดยาวกันไปเหมือนกับแชร์ลูกโซ่ของเบอร์นี แมดอฟฟ์ (Bernie Madoff) ซึ่งเป็นกรณีแชร์ลูกโซ่สะเทือนโลก