นายกรัฐมนตรีหญิงอังกฤษ ลิซ ทรัสส์ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังอยู่ในตำแหน่งเพียง 44 วัน

354
0
Share:
นายกรัฐมนตรีหญิง อังกฤษ ลิซ ทรัสส์ ประกาศ ลาออก จากตำแหน่ง หลังอยู่ในตำแหน่งเพียง 44 วัน

นายกรัฐมนตรีหญิง ลิซ ทรัสส์ แห่งอังกฤษ ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากเข้าดำรงตำแหน่งได้เพียง 6 สัปดาห์ ท่ามกลางแรงกดดันจากการเมืองทั้งในซีกรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีหญิงตัดสินใจทางการเมือง ก่อนหน้านี้ ลิซ ทรัสส์ กล่าวยืนกรานว่าจะไม่ลาออกจากนายกรัฐมนตรี ด้วยการกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาอังกฤษในการประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า เธอไม่ใช่คนขี้แพ

สาเหตุจากนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งดังกล่าวได้สร้างความผันผวน ความปั่นป่วน และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการในการบริหารประเทศอังกฤษโดยเฉพาะนโยบายการแก้ไขและฟื้นตัวเศรษฐกิจอังกฤษ ด้วยการประกาศนโยบายการตัดลดการเก็บภาษีซึ่งสร้างความปั่นป่วน และความไม่เชื่อมั่นอย่างรุนแรงให้กับประชาชน ฝ่ายการเมืองในอังกฤษ หลังจากนั้นได้กลับลำมาทบทวนด้วยการประกาศจะยกเลิกมาตรการตัดลดการเก็บภาษีที่เคยประกาศไปก่อนหน้านั้น

นายกรัฐมนตรีหญิง ลิซ ทรัสส์ ต้องเผชิญดับแรงกดดันอย่างรุนแรง และต่อเนื่อง โดยมีรัฐมนตรีหญิงกระทรวงมหาดไทย อังกฤษ ประกาศลาออกเมื่อ 24 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อังกฤษ ถูกปลดฟ้าผ่าเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว

ก่อนหน้านี้เมื่อวันพุธที่ 19 ตุลาคมผ่านมา นางซูเอลลา เบรเวอร์แมน รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย อังกฤษ ประกาศลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว สาเหตุจากได้ใช้อีเมลส่วนตัวทำการส่งเอกสารของราชการ ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดทางเทคนิคตามกฎระเบียบของรัฐบาลอังกฤษ และยังระบุว่ามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับทิศทางการบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรีลิซ ทรัสส์ ของอังกฤษ

เมื่อวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคมผ่านมา นายกรัฐมนตรีหญิง ลิซ ทรัสส์ ประกาศปลดนายควาซี ควอร์เทง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งนายเจเรมี ฮันต์ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทน
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 โฆษกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เปิดเผยว่า ท่ามกลางสถานการณ์เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงมากในหลายประเทศรวมถึงสหราชอาณาจักร ไอเอ็มเอฟไม่เห็นด้วยและไม่แนะนำการใช้แพคเกจด้านการคลังของรัฐบาลสหราชอาณาจักรที่ไม่ได้กำหนดเป้าหมายชัดเจน และมีขนาดการปรับลดรายได้รัฐบาลที่มากขนาดนี้ เนื่องจากการใช้นโยบายการคลังในลักษณะดังกล่าวไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรควบคู่กับการใช้นโยบายการเงินในปัจจุบัน

ไอเอ็มเอฟแสดงข้อคิดเห็นและมุมมองที่ไม่สนับสนุนการใช้มาตรการการคลังของสหราชอาณาจักรมีสาเหตุจากนักลงทุนแห่เทขายเงินปอนด์สเตอริงครั้งประวัติการณ์เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ส่งผลค่าเงินปอนด์สเตอริงดำดิ่งลงแตะระดับ 1.0327 ทำสถิติมีค่าเงินปอนด์สเตอริงต่ำสุดเป็นประวัติศาสตร์ สร้างความผันผวนและปั่นป่วนให้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก

เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางอังกฤษ หรือบีโออี แถลงว่าธนาคารกลางจะทำการรับซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลอังกฤษจำนวนมากเท่าที่มีความจำเป็นตั้งแต่ขณะนี้จนถึงวันที่ 14 ต.ค.เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงิน การแถลงดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากนักลงทุนจากความเชื่อมั่นในนโยบายดังกล่าว และค่าเงินปอนด์สเตอริง ส่งผลแห่เทขายเงินปอนด์สเตอริงดำดิ่งเป็นประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร ธนาคารกลางอังกฤษใช้เงินมากถึง 65,000 ล้านปอนด์สเตอริง หรือ 73,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 2.77 ล้านล้านบาท ในการเข้าซื้อพันธบัตรในระบบการเงิน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 นายกรัฐมนตรีหญิงสหราชอาณาจักร นางลิซ ทรัสส์ ประกาศนโยบายแก้ไขภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรด้วยการใช้มาตรการการคลังด้านภาษีที่มีการตัดลดรายได้จัดเก็บภาษีครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ในเวลาเดียวกัน การหารายได้มาทดแทนรายได้ภาษีที่สูญหายรวมกันมากถึง 45,000 ล้านปอนด์สเตอริง หรือเสียรายได้จากภาษีถึง 1.85 ล้านล้านบาทในช่วงปี 2026-2027 นั้น ทำให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรเตรียมจะกู้เงินมูลค่า 72,000 ล้านปอนด์สเตอริง หรือกว่า 2.93 ล้านล้านบาทในปีงบประมาณนี้ในปีเดียว ได้สร้างความตกใจให้กับนักลงทุน และไปเพิ่มต้นทุนในการกู้ยืมเงินกู้พุ่งสูงอย่างทันที