บาทไทยเดี้ยง! เงินบาทร่วงหนักทะลุกว่า 31 บาท ทำสถิติผลตอบแทนแย่ที่สุดในอาเซียน

957
0
Share:
ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศในตลาดเอเชีย รายงานว่า วันนี้ 1 เมษายน 2564 ค่าเงินบาทเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐ ถูกเทขายต่อเนื่อง กดค่าเงินบาทลงอ่อนแตะที่ระดับ 31.33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หรือดิ่งกว่า 4% ที่สำคัญ เมื่อวันพุธที่ 31 มีนาคม เงินบาทอ่อนค่าหนักทำสถิติต่ำสุดในรอบกว่า 6 เดือน นอกจากนี้ ตลอดทั้งเดือนมีนาคมที่ผ่านไป เงินบาทร่วงอ่อนค่าทำสถิติให้ผลตอบแทนที่ย่ำแย่มากที่สุดในทวีปเอเชีย
.
เมื่อเปรียบเทียบค่าเงินบาทกับสกุลเงินในกลุ่มอาเซียน พบว่า ค่าเงินด่องอ่อนค่าน้อยที่สุดเพียง -0.02% ตามด้วยอันดับ 2 เงินเปโซ ฟิลิปปินส์ อันดับ 3 เงินดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้ง 2 สกุลนี้อ่อนค่ามากกว่า 1% อันดับ 4 เงินริงกิต มาเลเซีย ร่วงหนัก 3.1% อันดับ 5 เงินรูเปี๊ยะ อินโดนีเซีย ดิ่งกว่า 3.4% และเงินบาท ไทย ร่วงอ่อนค่าเป็นอันดับสุดท้ายกว่า 4%
.
สาเหตุที่ทำให้นักลงทุนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในค่าเงินบาท มาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 เข้าสู่สถานะขาดดุลสูงถึง 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากถึง 44,800 ล้านบาท จากเดิมที่เคยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน สูงถึง 6,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากถึง 211,200 ล้านบาท นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 ประเทศไทยเคยมีสถานะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากถึง 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 368,000 ล้านบาท
.
ประเทศไทยเกิดภาวะดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ส่งผลให้กลายเป็นการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดครั้งแรกในรอบ 6 ปีครึ่ง หรือนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2014 เป็นต้นมา สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลของไทย เกิดจากรายได้ภาคบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้จากตลาดท่องเที่ยวลดลงเหลือเพียง 742 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 23,744 ล้านบาท สาเหตุจากการปิดประเทศเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 จากนักท่องเที่ยวและนักเดินทางจากต่างประเทศในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน
.
นอกจากนี้ ปัจจัยที่กดดันการเทขายเงินบาทอย่างต่อเนื่อง เกิดจากบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ส่งรายได้จากผลประกอบการตามปีงบประมาณญี่ปุ่น กลับไปยังบริษัทแม่ในญี่ปุ่น