ปิดกิจการ! โอสถสภาปิดโรงงานผลิตขวดแก้วที่สมุทรปราการถาวร ใช้โรงงานที่อยุธยาผลิตต่อไป

212
0
Share:
ปิดกิจการ! โอสถสภา ปิดโรงงาน ผลิตขวดแก้วที่สมุทรปราการถาวร ใช้โรงงานที่อยุธยาผลิตต่อไป

บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำการส่งหนังสือแจ้งไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีข้อความดังนี้

บริษัทสยามกลาส อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย มีแผนจะหยุดประกอบกิจการโรงงานผลิตขวดแก้วที่จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป โดยจะคงเหลือไว้เฉพาะส่วนของการบริหารจัดการคลังสินค้าที่จังหวัดสมุทรปราการ

ด้านการบริหารจัดการเรื่องบุคลากรจากการหยุดประ กอบกิจการโรงานผลิตขวดแก้วที่จังหวัดสมุทรปราการที่ ได้รับผลกระทบสยามกลาสอินดัสทรีได้มีการดูแลพนักงานที่ได้รับผลกระทบโดยเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยว ข้องเพื่อให้ การหยุดประกอบกิจการโรงงานที่จังหวัดสมุทรปราการครั้งนี้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ทั้งนี้บริษัทฯขอเรียนให้ทราบว่าการหยุดประกอบกิจการโรงงานการผลิตขวดแก้วที่จังหวัดสมุทรปราการของ สยามกลาสอินดัสทรีจะไม่ส่งผลต่อการดําเนินงานของบริษัทฯเนื่ องจากโรงงานผลิตขวดแก้วของบริษัทฯและบริษัทในเครือที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังดำเนินการผลิตอยู่ตามปกติ และสามารถรองรับความต้องการขวดแก้วเพื่อผลิตภัณฑ์ แบะการเจริญเติบโตตามแผนของบริ ษัทฯ ได้

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เปิดงานวิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมผลิตขวดแก้วในประเทศไทย พบว่า ผู้ผลิตขวดแก้วรายใหญ่ 4 ราย ได้แก่ บางกอกกล๊าสของกลุ่มสิงห์ คอร์ปอเรชั่น เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ สยามกลาส อินดัสตรีของกลุ่มโอสถสภา และเอเชียแปซิฟิกกลาสของกลุ่มคาราบาวแดง

ในแต่ละปีไทยมีการผลิตขวดแก้วเฉลี่ยปีละ 1.4 ล้านตัน (2561-2565) โดยเกือบทั้งหมด (มากกว่า 90%) เป็นการผลิตเพื่อใช้งานภายในประเทศ เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ทั้ง 4 ราย ต่างก็มุ่งเน้นผลิตขวดแก้วเพื่อป้อนให้กับบริษัทในเครือที่อยู่ในธุรกิจเครื่องดื่มทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ จึงทำให้ธุรกิจเครื่องดื่มเป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนการใช้งานขวดแก้วมากที่สุดคิดเป็น 60%-70% ของปริมาณการผลิตในแต่ละปี รองลงมาคือ ธุรกิจอาหาร และธุรกิจยา ตามลำดับ

สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 พบว่ามีการผลิตขวดแก้วมีจำนวนทั้งสิ้น 7.16 แสนตัน ลดลง 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ที่ลดลงของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของกำลังซื้อภายในประเทศ ประกอบกับสต็อกขวดแก้วที่ยังคงมีอยู่จำนวนมาก

ในด้านปริมาณการจำหน่ายพบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 8.62 แสนตัน ลดลง 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา สอดคล้องกับปริมาณการผลิตที่ลดลงของอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะการผลิตสุราขาว ซึ่งตกต่ำมากถึง -14.4% เบียร์ -8.8% และเครื่องดื่มชูกำลัง -11.4% ทั้งหมดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา ที่มีตลาดหลักอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบ K-shape หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังซื้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีรายได้ประจำจะฟื้นตัวล่าช้ากว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้ปานกลางขึ้นไป

เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงกว่าในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จากมาตรการจำกัดการเดินทางที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายอย่างต้องหยุดชะงักไป ประกอบกับปัญหาหนี้ครัวเรือน และการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพจากปัญหาเงินเฟ้อสูง