ปิดตลาดทองคำไทยขึ้นต่ออีก +250 บาท นักลงทุนอกหักไม่ปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่

68
0
Share:
ปิดตลาด ทองคำ ไทยขึ้นต่ออีก +250 บาท นักลงทุนอกหักไม่ปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่

สมาคมค้าทองคำประกาศราคาขายทองคำในประเทศไทย วันนี้ 16 เมษายน 2567 รวม 10 ครั้ง สุทธิเพิ่มขึ้น +250 บาท ทำให้ราคาทองคำแท่งรับซื้อ 41,100 บาท ราคาขายออก 41,200 บาท ด้านทองรูปพรรณรับซื้อ 40,355.92 บาท ราคาขายออก 41,700 บาท ส่งผลไม่สามารถปิดทำสถิติราคาทองคำสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ถึงครั้งใหม่ได้ ราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ยังคงเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 26 และครั้งที่ 8 นับตั้งแต่ต้นปีนี้ และในเดือนเมษายนนี้มาถึงวันที่ 15 เมษายน 2567 ตามลำดับ ที่สำคัญ ที่สำคัญ วันนี้ 16 เมษายน 2567 ทองรูปพรรณรับซื้อแตะระดับ 42,000 บาทเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์ ขณะที่ ทองคำแท่งแตะระดับ 41,000 บาทเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 12 เมษายนผ่านมา อย่างไรก็ตาม สามารถทำสถิติราคาสูงสุดระหว่างเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ที่ระดับราคา 41,600 และ 42,100 ทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณตามลำดับ และนับตั้งแต่ต้นปีนี้มาถึงวันที่ 16 เมษายน 2567 ราคาทองคำในไทยทะยานขึ้น +7,500 บาท/บาททองคำ หรือทะยานขึ้น +21.96%

ด้านราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ที่สิงคโปร์ ปิดตลาดที่ 2,370.50 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ลดลง -13.50 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ยังคงห่างจากสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ที่ระดับ 2,400 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันมากเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ในเอเชีย เงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐในตลาดต่างประเทศอยู่ที่ระดับ 36.64 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 18 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับสถิติราคาทองคำในไทยสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเดือนมีนาคม 2567 พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 ของมีนาคม ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ปรากฏว่า ราคาทองคำในไทยทำสถิติราคาปิดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 4 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 4 (แท่ง 35,200 รูปพรรณ 35,800), 5 (แท่ง 35,900 รูปพรรณ 36,500), 7 (แท่ง 36,250 รูปพรรณ 36,850) และ 9 มีนาคม (แท่ง 36,400 รูปพรรณ 37,000) มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของมีนาคม ทำสถิติ 4 ครั้ง เริ่มจากวันที่ 11 (แท่ง 36,550 รูปพรรณ 37,050) วันที่ 12 (แท่ง 36,650 รูปพรรณ 37,150) วันที่ 14 (แท่ง 36,700 รูปพรรณ 37,200) วันที่ 15 (แท่ง 36,750 รูปพรรณ 37,250) และมาถึงสัปดาห์ที่ 3 ทำสถิติ 2 ครั้ง วันที่ 20 (แท่ง 36,850 รูปพรรณ 37,350) วันที่ 21 (แท่ง 37,650 รูปพรรณ 38,150) และในสัปดาห์สุดท้ายของมีนาคม วันที่ 27 (แท่ง 37,700 รูปพรรณ 38,200) วันที่ 28 (แท่ง 37,950 รูปพรรณ 38,450) วันที่ 29 (แท่ง 38,550 รูปพรรณ 39,050)

เดือนเมษายน 2567 ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 7 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 1 (แท่ง 38,900 รูปพรรณ 39,400) วันที่ 2 (แท่ง 39,250 รูปพรรณ 39,750) วันที่ 3 (แท่ง 39,550 รูปพรรณ 40,050) วันที่ 4 (แท่ง 39,850 รูปพรรณ 40,350) วันที่ 6 (แท่ง 40,250 รูปพรรณ 40,750) วันที่ 8 (แท่ง 40,650 รูปพรรณ 41,150) และวันที่ 12 (แท่ง 41,350 รูปพรรณ 41,850) หน่วย: บาท/บาททองคำ