ปิดเขียวแคบ! ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปิดแคบ 10 จุด น้ำมันดิบโลกปิดร่วงหลุด 70 ดอลลาร์

179
0
Share:
ปิดเขียวแคบ! ดัชนี หุ้น ดาวโจนส์ ปิดแคบ 10 จุด น้ำมันดิบโลกปิดร่วงหลุด 70 ดอลลาร์

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2023 (ตามเวลาในสหรัฐ) ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปิดที่ระดับ 34,418 จุด +10 จุด หรือ +0.03% ดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ระดับ 4,455 จุด +5 จุด หรือ +0.12% และดัชนีหุ้นนาสแดค ปิดที่ระดับ 13,816 จุด +28 จุด หรือ +0.21% ในสัปดาห์ผ่านไป ดัชนีหุ้นสำคัญทั้ง 3 แห่ง ปิดเพิ่มขึ้น +2%

สาเหตุจากนักลงทุนเข้าซิ้อหุ้นเทสลา อินคอร์ปอเรชั่น หลังจากผลประกอบการโดยเฉพาะยอดผลิตและยอดส่งมอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั่วโลกทำสถิติเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ ทำให้หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอื่นๆ มีราคาปรับขึ้นตามไปด้วย

นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะมีผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 ออกมาดีตามคาด โดยเฉพาะเป็นหุ้นในกลุ่มที่มีราคาถูกจากในช่วงปลายสัปดาห์ผ่านมา ซึ่งดัชนีหุ้นปรับฐานลงต่อเนื่องแทบทุกวัน รวมถึงหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ได้ประโยชน์จากการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ

อย่างไรก็ตาม การซื้อขายหุ้นในคืนผ่านมามีปริมาณและมูลค่าพอสมควร เนื่องจากตลาดหุ้นนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ปิดทำการในช่วงบ่ายเพื่อเข้าสู่วันหยุดสำคัญ ได้แก่ วันชาติสหรัฐอเมริกาในวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการในวันอังคารนี้

ขณะที่ตัวชี้วัดแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือเฟด ที่เรียกว่า ซีเอ็มอีเฟดวอทช์ ทูล พบว่า มีโอกาส 82% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าว 0.25% ในการประชุมเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งลดลงจากเดิมที่ให้น้ำหนัก 67% ในรอบ 24 ชั่วโมงผ่านมา ที่สำคัญ โอกาสลดดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นในเดือนธันวาคมปีนี้ ซึ่งเร็วกว่าที่คาดไว้

ราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ 69.79 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล -0.85 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือ -1.2% ในไตรมาส 2 ผ่านไป ราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ร่วงลงมากถึง -6.5% และเป็นราคาน้ำมันดิบรายไตรมาสปิดลดลง 2 ไตรมาสต่อเนื่อง

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 มีราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ สหรัฐอเมริกา พุ่งขึ้นสูงสุดที่ 130.50 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ทำสถิติราคาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ที่สูงสุดนับตั้งแต่กันยายน 2008 หรือในรอบ 13 ปี 5 เดือน

ด้านราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ ทะเลเหนือ ปิดที่ 74.65 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล -0.76 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือ -1.0% ในไตรมาส 2 ผ่านไป ราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ร่วงลงมากถึง -6.0% และเป็นราคาน้ำมันดิบรายไตรมาสปิดลดลง 2 ไตรมาสต่อเนื่อง

ในปี 2022 ผ่านไปราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษ มีราคาสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2008 หรือในรอบ 13 ปี 7 เดือน โดยเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565 มีขึ้นมาสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 139.13 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

สาเหตุจากซาอุดีอาระเบียประกาศลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจถึงวันละ 1 ล้านบาร์เรลเพิ่มเติมในเดือนสิงหาคมหลังจากเริ่มต้นในเดือนนี้เป็นเดือนแรก สอดคล้องกับรองนายกรัฐมนตรี รัสเซีย กล่าวว่า จะลดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบไปตลาดโลกราววันละ 500,000 บาร์เรล มีผลในเดือนสิงหาคมนี้ ปริมาณดังกล่าวเท่ากับ 1.5% ของปริมาณซัพพลายน้ำมันดิบตลาดโลก

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนกลับมากังวลครั้งใหม่กับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสำคัญของโลกหลังจากคืนผ่านมา นายเจอร์โรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือเฟด กล่าวว่าไม่ปฏิเสธการปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นติดต่อกันในช่วงที่เหลือครึ่งปีหลังนี้

นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางกลุ่มยูโร หรืออีซีบี กล่าวว่า ภาวะเงินเฟ้อที่ยังควบคุมได้ยากนั้น ทำให้ธนาคารกลางต้องหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงจุดสิ้นสุดของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว

ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2023 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 1,925.85 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +7.91 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +0.3% ขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 1,934.10 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +4.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +0.2%

ส่งผลราคาทองคำตลาดโลกในไตรมาสที่ 2 ลดลง -2.5% ก่อนหน้านี้มีราคาปิดต่ำสุดในรอบเกือบ 4 เดือน หรือนับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมา

เมื่อกลางเดือนเมษายนผ่านไป ราคาทองคำล่วงหน้ามีราคาปิดสูงสุดในรอบ 1 ปีที่ 2,048.71 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จากวิกฤตธนาคารเอสวีบี และเอสบี ปิดกิจการและถูกควบคุมโดยทางการสหรัฐอเมริกา

ย้อนกลับไปในปี 2022 ผ่านไปเมื่อเดือนมีนาคม พบว่าราคาทองคำล่วงหน้ามีราคาสูงสุดระหว่างวันขึ้นไปถึง 2,072.49 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์

สาเหตุจากตัวเลขผลต่างของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอายุ 2 และ 10 ปี ทำสถิติห่างกันมากที่สุดในรอบ 42 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1981 สะท้อนถึงความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องจะทำให้มีแนวโน้มสูงที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเกิดภาวะถดถอย

นักลงทุนยังคงกังวลกับการยืนยันแนวโน้มดอกเบี้ยระยะสั้นจากประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือเฟด ยังต้องปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ รวมถึงประธานธนาคารกลางกลุ่มยูโรที่กล่าวว่า เงินเฟ้อในกลุ่มยูโรยังควบคุมได้ยาก จึงเลี่ยงที่จะพูดถึงรอบการสิ้นสุดการขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น

ขณะนี้ ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่เรียกว่า เฟดวอช์ท พบว่า โอกาสขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐอเมริการาว 0.25% ในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 82% มากกว่าเมื่อวานนี้ที่ระดับ 67%