ปีหน้าคนยากจนพุ่งทะลุ 150 ล้านคน มากสุดในรอบ 20 ปี

732
0
Share:

ประธานธนาคารโลก นายเดวิด มัลพาสส์ เปิดเผยว่า จำนวนประชากรโลกที่ถูกจัดให้เป็นคนยากจนแร้นแค้น โดยมีรายได้ต่ำกว่าวันละ 1.90 ดอลลาร์สหรัฐ หรือน้อยกว่าวันละ 60.80 บาท จะทะยานขึ้นระหว่าง 88-115 ล้านคน ทำให้จำนวนคนยากคนข้นแค้นจะมีระหว่าง 111-150 ล้านคนภายในสิ้นปี 2564 สำหรับจำนวนประชากรยากจนที่จะเพิ่มสูงมากขึ้นถึง 150 ล้านคนในปีหน้านั้น ทำสถิติสัดส่วนจำนวนผู้ยากจนทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี หรือตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา
.
ประธานธนาคารโลก กล่าวว่า จำนวนประชากรโลกในปัจจุบันที่ 7,600 ล้านคน จะมีสัดส่วนคนยากจนอยู่ระหว่าง 9.1% ถึง 9.4% เกิดขึ้นในปี 2563 หากเป็นไปตามที่ประเมินไว้ สัดส่วนของคนยากจนดังกล่าวจะใกล้เคียงกับในปี 2017 ซึ่งในปีนั้นมีสัดส่วนคนยากจนข้นแค้นที่ 9.2%
.
นายเดวิด มัลพาสส์ เปิดเผยต่อไปว่า ภาวะโรคระบาดโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ส่งผลให้ 1.4% ของจำนวนประชากรโลกต้องตกอยู่ในกลุ่มประชาชนยากจนแล้นแค้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ ทำให้เกิดการตกต่ำอย่างรุนแรงของความก้าวหน้าในการพัฒนา และการลดลงของความยากจนข้นแค้นของโลก
.
รายงานดังกล่าว พบว่าจำนวนคนยากจนอย่างแสนสาหัสที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้ พบอยู่ในประเทศที่มีอัตราความยากจนสูงอยู่แล้ว แต่เป็นที่สังเกตว่า ประมาณ 82% ของทั้งหมดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ในแง่พื้นที่ของกลุ่มประชากรที่ยากจนข้นแค้นนั้น ธนาคารโลก พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองกลับมีความยากจนแสนสาหัสเพิ่มสูงมากขึ้น สาเหตุจากถูกปลดออกจากงาน หรือตกงานในช่วงที่มาตรการปิดล็อคเมืองถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้นเพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19
.
สำหรับประเทศที่จะมีประชากรเต็มไปด้วยความยากจนข้นแค้นมากที่สุด คือแอฟริกาใต้สะฮารา อยู่ในทวีปแอฟริกา โดยจะมีคนยากจนเพิ่มขึ้นถึง 50 ล้านคนภายในปี 2564 นอกจากนี้ ราว 42% ของประชากรในภูมิภาคนี้ จะมีความยากจนแสนสาหัสภายในปี 2021
.
ธนาคารโลก ยอมรับว่า สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 พบว่ายังส่งกระทบต่อรายได้สำหรับประชากรที่ยากจนสุดๆ ลดลงถึง 40% และยังเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันของรายได้อย่างมาก รวมถึงลดการเคลื่อนที่ของสังคมอีกด้วย