ผ่าน 1 ชั่วโมงครึ่ง ราคาทองคำในไทยผันผวนแรง ปรับราคา 11 รอบ ยังบวก +200 บาท

Share:
ผ่าน 1 ชั่วโมงครึ่ง ราคา ทองคำ ในไทยผันผวนแรง ปรับราคา 11 รอบ ยังบวก +200 บาท

สมาคมค้าทองคำประกาศราคาขายทองคำในประเทศไทย รายงานว่า วันนี้ 19 เมษายน 2567 ครั้งที่ 12 เวลา 10.32 น. ลดลง -100 บาท สุทธิเพิ่มขึ้น +200 ทำให้ราคาทองคำแท่งรับซื้อ 41,650 บาท ราคาขายออก 41,750 บาท ด้านทองรูปพรรณรับซื้อ 40,901.68 บาท ราคาขายออก 42,250 บาท ขณะที่เปิดตลาดครั้งแรก ราคาปรับขึ้น +550 บาท ส่งผลทองรูปพรรณและทองคำแท่งทำสถิติราคาสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ที่สำคัญ เป็นวันแรกและครั้งประวัติศาสตร์ที่ราคาทองคำรูปพรรณ และทองคำแท่ง แตะ 42,000 ทั้งคู่

สำหรับราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 26 และครั้งที่ 8 นับตั้งแต่ต้นปีนี้ และในเดือนเมษายนนี้มาถึงวันที่ 17 เมษายน 2567 ตามลำดับ ที่สำคัญ ที่สำคัญ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 ทองรูปพรรณรับซื้อแตะระดับ 42,000 บาทเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ยังทำสถิติราคาสูงสุดระหว่างเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ที่ระดับราคา 41,650 และ 42,150 ทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณตามลำดับ และนับตั้งแต่ต้นปีนี้มาถึงวันที่ 17 เมษายน 2567 ราคาทองคำในไทยทะยานขึ้น +8,000 บาท/บาททองคำ หรือทะยานขึ้น +23.42%

ด้านราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ที่สิงคโปร์ เคลื่อนไหวที่ 2,387.00 ลดลง -22 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ อย่างไรก็ตาม ราคาเปิดตลาดเช้านี้ที่ 2,409 ดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติราคาสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ในเอเชีย ส่วนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐ เคลื่อนไหวที่ระดับ 36.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าเบาบางเพียง 1 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐเทียบกับเปิดตลาดเช้านี้

สำหรับสถิติราคาทองคำในไทยสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเดือนมีนาคม 2567 พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 ของมีนาคม ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ปรากฏว่า ราคาทองคำในไทยทำสถิติราคาปิดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 4 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 4 (แท่ง 35,200 รูปพรรณ 35,800), 5 (แท่ง 35,900 รูปพรรณ 36,500), 7 (แท่ง 36,250 รูปพรรณ 36,850) และ 9 มีนาคม (แท่ง 36,400 รูปพรรณ 37,000) มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของมีนาคม ทำสถิติ 4 ครั้ง เริ่มจากวันที่ 11 (แท่ง 36,550 รูปพรรณ 37,050) วันที่ 12 (แท่ง 36,650 รูปพรรณ 37,150) วันที่ 14 (แท่ง 36,700 รูปพรรณ 37,200) วันที่ 15 (แท่ง 36,750 รูปพรรณ 37,250) และมาถึงสัปดาห์ที่ 3 ทำสถิติ 2 ครั้ง วันที่ 20 (แท่ง 36,850 รูปพรรณ 37,350) วันที่ 21 (แท่ง 37,650 รูปพรรณ 38,150) และในสัปดาห์สุดท้ายของมีนาคม วันที่ 27 (แท่ง 37,700 รูปพรรณ 38,200) วันที่ 28 (แท่ง 37,950 รูปพรรณ 38,450) วันที่ 29 (แท่ง 38,550 รูปพรรณ 39,050)

เดือนเมษายน 2567 ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 8 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 1 (แท่ง 38,900 รูปพรรณ 39,400) วันที่ 2 (แท่ง 39,250 รูปพรรณ 39,750) วันที่ 3 (แท่ง 39,550 รูปพรรณ 40,050) วันที่ 4 (แท่ง 39,850 รูปพรรณ 40,350) วันที่ 6 (แท่ง 40,250 รูปพรรณ 40,750) วันที่ 8 (แท่ง 40,650 รูปพรรณ 41,150) วันที่ 12 (แท่ง 41,350 รูปพรรณ 41,850) และวันที่ 17 (แท่ง 41,650 รูปพรรณ 42,150) หน่วย: บาท/บาททองคำ

คุยกับบัญชา