พาณิชย์เผยเงินเฟ้อก.ค.ติดลบ 0.98 % จากปีก่อน

547
0
Share:

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึง สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนก.ค. 2563 ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ เงินเฟ้อทั่วไปเดือนก.ค.เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ลดลง 0.98 % และปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากการหดตัว 1.57 % ในเดือนก่อน
.
ขณะที่ ดัชนีราคาผู้บริโภคเทียบกับเดือนมิถุนายน 2563 สูงขึ้น 0.66 % และเฉลี่ย 7 เดือนปี 2563 ลดลง 1.11%
.
โดยมาจาก 4 ปัจจัย คือ 1)ราคาพลังงานที่เริ่มทรงตัว ส่งผลให้อัตราการหดตัวของราคาพลังงานในเดือนนี้ลดลง //
.
2) อาหารสดกลับมาขยายตัวอีกครั้งในรอบ 3 เดือน ตามความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นจากการเปิดภาคเรียนใหม่ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ และความต้องการสุกรในประเทสเพิ่มขึ้น รวมถึงการเกิดโรคระบาดสุกรในประเทศเพื่อนบ้าน
.
3) มาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้า ประปา ได้สิ้นสุดลง
.
4) การจัดโปรโมชั่นด้านราคาสินค้าและบริการของผู้ประกอบการเริ่มลดน้อยลง โดยเฉพาะในหมวดอาหารบริโภคนอกบ้าน เนื่องจากสถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ
.
อย่างไรก็ตามการปรับตัวดีขึ้นของเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 นั้น สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของเครื่องชี้วัดด้านอุปสงค์ในประเทศ ทั้งการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายภายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์และรถยนต์เชิงพาณิชย์ ชี้ว่าปัจจัยด้านอุปสงค์ในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญของการปรับตัวดีขึ้นของเงินเฟ้อในเดือนนี้อย่างมีนัยสำคัญ
.
ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนส.ค.2563 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากการระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 ความผันผวนของราคาพลังงานโลก และสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2563 ที่ ติดลบ 1.5 ถึง 0.7 (ค่ากลางอยู่ที่ -1.1)
.
ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนก.ค. 2563 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 41.0 จากระดับ 42.5 ในเดือนก่อน ซึ่งการปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดว่ามีสาเหตุสำคัญจากความกังวลของประชาชนต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้ง แม้ไทยจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี แต่ในหลาย ประเทศยังประสบปัญหาการระบาดระลอกที่ 2 และความผันผวนทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว