ระวังตัวนี้! นักวิทยาศาสตร์ชี้โควิด-19 รหัส B.1.621 หรือโคลอมเบีย อันตรายไม่น้อยกว่าเดลต้า

475
0
Share:

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่นักวิทยาศาสตร์ และนักระบาดวิทยากำลังจับตามองถึงศักยภาพ และความรุนแรงของเชื้อสายพันธ์ุใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตท่ามกลางเชื้อสายพันธ์ุเดลต้า หรืออินเดีย ที่มีความรุนแรงไปทั่วโลกในปัจจุบัน

สายพันธ์ุ B.1.621 กลายเป็นสายพันธุ์ที่ถูกจับตามองอย่างมากถึงแม้ว่าในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก หรือ WHO จะยังจัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธ์ุน่าสนใจ หรือ Varient of Interest และยังไว้ได้กำหนดตัวอักษรภาษากรีกให้กับสายพันธ์ุนี้

โรคระบาดโควิด-19 สายพันธ์ุ B.1.621 ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศโคลอมเบีย ทำให้มีการเรียกชื่อในขณะนี้ว่าสายพันธ์ุโคลอมเบีย กระทรวงสาธารณสุขแห่งอังกฤษ เปิดเผยว่าสายพันธ์ุโคลอมเบียถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสอบสวนการกลายพันธุ์ เนื่องจากสายพันธ์ุนี้ ปรากฎตำแหน่งการกลายพันธุ์ถึง 3 จุด ได้แก่ E484K N501Y และ D614G ซึ่งเชื่อมโยงถึงความสามารถในการแพร่ระบาดเพิ่มสูงขึ้น และที่สำคัญสามารถลดการป้องกันภูมิต้านทานลงด้วย

จนถึงปัจจุบันนี้ อังกฤษตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โคลอมเบียเป็นจำนวน 37 ราย ในเวลาเดียวกัน สายพันธ์ุนี้ถูกตรวจพบในผู้ป่วยโรคระบาดโควิด-19 จำนวนไม่น้อยที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา สายพันธ์ุโคลอมเบียนี้ยังถูกตรวจพบในผู้สูงอายุช่วงวัย 80-90 ปี จำนวน 7 รายที่เสียชีวิตในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในประเทศเบลเยี่ยมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมาด้วย

ด้านสายพันธ์ุแลมบ์ดา หรือเปรู ที่หลายคนมองว่าน่าจับมองไม่น้อยไปกว่าสายพันธ์ุเดลต้านั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดวิทยาจำนวนไม่น้อยกลับมีหลักฐานยืนยันว่าสายพันธ์ุแลมบ์ดาอาจจะลดลง องค์การอนามัยโลก หรือ WHO จัดสายพันธ์ุแลมบ์ดาอยู่ในกลุ่มสายพันธ์ุน่าสนใจ หรือ Varient of Interest

นายแพทย์อีริค โทพอล ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญด้านเวชภัณฑ์โมเลกุล และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสคริปพส์ ลาโฮยา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า สัดส่วนการตรวจพบผู้ป่วยโรคระบาดโควิด-19 สายพันธ์ุแลมบ์ดาซึ่งรายงานไปยังสถาบัน GISAID มีจำนวนลดลงต่อเนื่อง

นอกจากนี้ จากการประชุมร่วมกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ CDC นายแพทย์วิลเลียม แชฟฟ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิ้ลท์ สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า สายพันธุ์แลมบ์ดาไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และวัคซีนที่มีใช้อยู่ดูจะป้องกันสายพันธ์ุแลมบ์ดาได้เป็นอย่างดี