รัฐเทงบกว่า 7,500 ล้านบาท เร่งเยียวยาแรงงาน-ร้านอาหาร 6 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ

353
0
Share:

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ​สังคมแห่งชาติ(สศช.) แถลงว่าได้ประชุมเพื่อหามาตรการเยียวยาช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้างร้านอาหารและไซต์งานก่อสร้าง ที่ได้รับผลกระทบจากการออกข้อกำหนออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 25) ในพื้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ นนทบุรี สมุทรสาคร ระยะเวลา 1 เดือน แบ่งออกเป็น ธุรกิจไซต์งานก่อสร้าง และธุรกิจร้านอาหาร ทั้งในระบบประกันสังคมและนอกระบบประกันสังคม
.
1.ในระบบประกันสังคม กรณีลูกจ้าง จ่ายชดเชยกรณีเหตุสุดวิสัยร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท นอกจากนี้ยังได้ “เงินเพิ่มเติม” จำนวน 2,000 บาทต่อราย ส่วนนายจ้างหรือผู้ประกอบการ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน
.
2.นอกระบบประกันสังคม สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ลงทะเบียนเข้าระบบประกันสังคม โดยให้ขึ้นทะเบียนผ่านแอปถุงเงิน หรือ ผ่านโครงการคนละครึ่ง กรณีลูกจ้างจะได้รับเงิน 2,000 บาทต่อหัว แต่ไม่ได้เงินชดเชยร้อยละ 50 เนื่องจากจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน ส่วนกรณีนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้างเช่นเดียวกัน
.
สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้ เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง สามารถขึ้นทะเบียนผ่าน “ถุงเงิน” (หมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ได้ภายใน 1 เดือน โดยกระทรวงมหาดไทยจะไปตรวจสอบ
.
เบื้องต้นกรอบวงเงินที่รัฐบาลเตรียมไว้ทั้งหมด 7,500 ล้านบาท แบ่งออกเป็นวงเงินจากรัฐบาล 4,000 ล้านบาท ซึ่งจะจัดสรรมาจากวงเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท และและกองทุนประกันสังคม 3,500 ล้านบาท โดยจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 มิ.ย. เห็นชอบในหลักการการเยียวยาครั้งนี้ก่อน