ราชกิจจานุเบกษาประกาศคลายล็อก 6 กิจการ ขายเหล้าได้ – แต่ห้ามดื่มในร้าน

1574
0
Share:

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ ๖) ที่ลงนามโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป จนถึงวันที่ 31 พ.ค. แล้วนั้น ด้วยเป็นการสมควรผ่อนคลายการบังคับใช้บางมาตรการในการป้องกันและการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 ตามลำดับขั้นตอนการควบคุมโอกาสเสี่ยงของบุคคล สถานที่ และประเภทกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องเพื่อลดผลกระทบต่อประชำชนด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตามหลักเกณฑ์ ขององค์การอนามัยโลกและตามผลการประเมินสถานการณ์ของฝ่ายสาธารณสุข โดยรับฟังความคิดเห็น
.
โดยมีสาระสำคัญ ระบุว่า สถานที่ สถานประกอบการหรือกิจกรรมใดซึ่งเคยมีข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งให้ปิดหรือจำกัดการดำเนินการชั่วคราวหรือเคยผ่อนผัน โดยมีเงื่อนไขไว้ ในระยะแรกนี้ ให้เปิดดำเนินกำรได้ทั่วราชอาณาจักรตามความสมัครใจและความพร้อม ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค.เป็นต้นไปได้แก่
.
(1) กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต
.
ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในโรงแรม ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง
โรงพยาบาล ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ซึ่งไม่รวมถึง สถานบริการ ผับ บาร์ ให้เปิดได้ โดยอาจให้นำกลับไปบริโภคที่อื่น แต่หากเปิดให้ใช้บริการในสถานที่นั้น ก็สามารถทำได้โดยต้องจัดระเบียบการเข้าใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำของทางราชการ
.
สำหรับร้านอาหารหรือเครื่องดื่มซึ่งจำหน่ายสุรา ให้เปิดได้แต่ห้ามการบริโภคสุรา
หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
.
ข. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อกำรใช้ชีวิต และร้านขำยปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร ที่ทำการหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ส่วนแผนกร้านอาหารให้เปิดได้เฉพาะการนำกลับไป บริโภคที่อื่น
.
ค. ร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก/ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำ และ
ตลาดนัด ให้เปิดได้โดยต้องควบคุมทางเข้ำออก จัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายผู้ให้ และ ผู้ใช้บริการ การเว้นระยะห่างในการเลือกสินค้าและการชำระราคา
.
ง. ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมสำหรับบุรุษหรือสตรีให้เปิดได้เฉพาะกิจกรรม
สระ ตัด ซอยผม แต่งผม และต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้ำน
.
(2) กิจกรรมด้านการออกกำลังกายหรือการดูแลสุขภาพ
.
ก. โรงพยาบาล คลินิก สถานทันตกรรมหรือสถานพยาบาลทุกประเภท ที่จัดตั้ง
โดยชอบด้วยกฎหมำย
.
ข. สนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟให้เปิดได้แต่ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือ
เป็นการแข่งขัน ในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าวให้ปฏิบัติตาม (1) ก.
.
ค. สนามกีฬาเฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้งและตามกติกาสากล ผู้เล่นต้องมีระยะห่าง
ทางสังคมและไม่คลุกคลีกันอยู่แล้ว เช่น เทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู และต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือ เป็นการแข่งขัน ในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าวให้ปฏิบัติตาม (1) ก.
.
ง. สวนสาธารณะ ลาน – พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา
ลานกีฬำ ให้เปิดได้เฉพาะพื้นที่โล่งแจ้งเพื่อการเดิน วิ่ง ขี่หรือปั่นจักรยำน หรือการออกกำลังกาย ด้วยวิธีอื่นเป็นส่วนบุคคล โดยไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน การละเล่น การแสดง
.
จ. สถานที่ให้บริกำรดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์
ข้อ 2 ให้เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ตามข้อ 1 (1) หรือ (2) ทุกประเภทมีหน้าที่
รับผิดชอบการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ และจัดให้มีมาตรการป้องกัน โรคตามที่ทางราชการกำหนด เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัย การตรวจวัด อุณหภูมิร่างกายผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดระบบอื่น ๆ ให้เป็นไปตามคำแนะนำ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพและผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทางราชการกำหนด โดยนัดแจ้งล่วงหน้า การไม่ให้ผู้ใช้บริการหลายคนอยู่รอในสถานที่เดียวกัน การจำกัดจำนวน ผู้ใช้บริการแต่ละคราว และเวลาการเข้าใช้บริการ
.
โดยพนักงานสามารถเข้าไปตรวจและให้คำแนะนำหรือตักเตือน ห้ามปนามได้ตลอดเวลา หากพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือเป็นอันตรายต่อการป้องกันการแพร่ของโรค ให้เสนอผู้มีอำนาจตามกฎหมายด้วยโรคติดต่อสั่งปิดสถานที่นั้นเฉพาะราย