ร้านอาหารญี่ปุ่นรสชาติคนไทยโตในต่างจังหวัดมากกว่าในกรุงเทพท่ามกลางโรคโควิด-19

503
0
Share:

นายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศญี่ปุ่นหรือเจโทร กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า เจโทร ได้สำรวจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 8 ก.ย.-7 พ.ย. 2564 พบว่าในปีนี้มีร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศ 4,370 ร้านเพิ่มขึ้น 6.7% เทียบกับปีที่แล้ว แบ่งเป็นร้านต่างจังหวัดมี 2,297 เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 15.5% ขณะที่จำนวนร้านในกรุงเทพฯ มีจำนวน 2,073 ลดลงไป 1.5% จากปีที่แล้ว

จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นทีมีแนวโน้นเพิ่มขึ้นมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น วัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นที่แพร่หลายมากขึ้น การขยายฐานลูกค้าโดยการเพิ่มความหลากหลายด้านราคา การเพิ่มขึ้นศูนย์การค้านอกพื้นที่กรุงเทพฯเป็นต้น ขณะที่ปัจจัยลบที่มีร้านอาหารญี่ปุ่นที่ปิดการให้บริการขั่วคราวจำนวนเพิ่มขึ้นน่าจะมาจากการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่ส่งผลให้ส่วนราชการประกาศล็อกดาวน์พื้นที่ที่แพร่ระบาดเชื่อโควิดโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นปิดให้บริการชั่วคราว เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม โดยผลการสำรวจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยในปี 64 นั้น โดยยอดขายลดลงไปมากในเดือนพฤษกาคมถึงสิหาคม จำนวนลูกค้าและยอดขายมีแนวโน้มฟื้นตัวตั้งแต่เดือนกันยายนแต่ยังคงได้รับผลกระทบช่วงที่ห้ามนั่งทานอาหารในร้านยอดขายของร้านอาหารลดลงอย่างมาก และตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนเป็นต้นไป สามารถนั่งทานอาหารในร้านได้ทำให้จำนวนลูกค้าและยอดขายมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น โดยจากการสอบถามความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นว่า สถานการณ์ของยอดขายร้านอาหารญี่ปุ่นขณะนี้เริ่มฟื้นตัวขึ้นถึงประมาณ ร้อยละ 70-80 ของก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโดวิด-19 และสถานการณ์การฟื้นตัวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเมนูอาหาร สถานที่ตั้ง

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารญี่ปุ่นให้ความเห็นว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่ต้องรับมือ เช่น การขาดแดลนแรงงานในอุตสาหกรรมร้านอาหาร การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ยอดขายของบริษัทบริหารเช่นร้านอาหารญี่ปุ่นรายใหญ่

นอกจากนี้ ทางเจโทรมองว่ามูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมร้านอาหารในไทยปี 2564 จะหดตัวลง ร้อยละ 13.5-17.3 จากปีก่อน คิดเป็น 3.5 – 3.35 แสนล้านบาท ตามรายงาน ECON ANALYSIS ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ขณะที่การใช้บริการ Food Delivery (รวมร้านอาหารญี่ปุ่น) มีมากขึ้นต่อเนื่องจากปีที่แล้ว คาดว่าหลังจากสามารถนั่งทานอาหารและดื่มเดรื่องดื่มแอลกอฮอล์นร้านได้แล้ว ร้านอาหารแต่ละร้านจะใช้ Food Delivery ในรูปแบบที่แตกต่างกันตามเมนูหลักและกลยุทธ์ของร้าน แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายคนเห็นว่า ในช่วงเวลาต่อไปก็ยังคงมีการใช้ Food Delivery อยู่เพื่อเพิ่มช่องทางการขาย และเพื่อรองรับความเสี่ยงของการแพร่ระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ ประมาณการมูลค่าตลาดของ Food Dolivery ในปี 2564 เติบโตขึ้น ร้อยละ 46.4 จากปีก่อนหน้าตามรายงาน ECON ANALYSIS ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย