ลาซาด้าจ้องปลดพนักงานในไทยครั้งใหญ่ถึงครึ่งต่อครึ่ง หรือ 50% ตกงานในกลางเดือนนี้

285
0
Share:
ลาซาด้า จ้อง ปลดพนักงาน ในไทยครั้งใหญ่ถึงครึ่งต่อครึ่ง หรือ 50% ตกงานในกลางเดือนนี้

สถานการณ์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีความผันผวนอย่างรุนแรงรับปีใหม่ 2024 ในอาเซียน โดยเฉพาะค่ายอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่างลาซาด้า (Lazada) ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านแพลตฟอร์มธุรกิจอีคอมเมิร์ซในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้ประกาศตัดลดค่าใช้จ่ายการจ้างพนักงานในสิงคโปร์ และมาเลเซีย ขณะนี้ มีรายงานข่าวเพิ่มเติมว่า ลาซาด้า ประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซสำคัญของลาซาด้า เตรียมประกาศมาตรการปลดพนักงานรอบที่ 2 ซึ่งเป็นครั้งใหญ่มากถึง 50% ของพนักงานที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะมีพนักงานลาซาด้าในประเทศไทยตกงานมากกว่านับหลายร้อยคนภายในวันที่ 15 มกราคม 2566 นี้ ท่ามกลางลาซาด้ามีผลกำไรจากการทำธุรกิจในไทย

รายงานข่าว ระบุว่า ข้อมูลจ้างงานของลาซาด้าเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ พบว่ามีจำนวน 1,100 คน พนักงานที่เข้าข่ายจะถูกปลดออกจากงานในครั้งที่ 2 นี้ จะมีทั้งพนักงานประจำ และพนักงานสัญญาจ้าง ได้แก่ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการสร้างสรรค์แบรนด์และสื่อ ฝ่ายเงินดิจิตอลลาซคอยน์ และฝ่ายการออกแบบสร้างสรรค์

ด้านผลประกอบการของลาซาด้าในประเทศไทย พบว่ามีกำไรทั้งในธุรกิจอีคอมเมิร์ซและโลจิสติกส์ ในปี 2022 มีผลกำไร 400 ล้านบาทจากรายได้รวม 20,700 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลกำไรเพียง 1.93% จากรายได้รวม สอดรับกับผลประกอบการของบริษัทลาซาด้า โลจิสติกส์ ประเทศไทย ที่มีผลกำไรในปี 2022 จำนวน 400 ล้านบาทจากรายได้รวม 16,800 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลกำไรสูงถึง 17.6% จากรายได้รวม

โมเมนตั้มเวิร์ค ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนชื่อดังในสิงค์โปร์ เปิดเผยว่า มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย หรือ Gross Merchandise Value เมื่อปี 2022 มีมูลค่า 14,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 504,000 ล้านบาทนั้น ช้อปปี้มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ถึง 56% ตามด้วยอันดับ 2 ลาซาด้ามีส่วนแบ่งที่ 40% และอันดับ 3 ติ๊กตอกอยู่ที่ 4%

เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2024 ผ่านมา ลาซาด้า เปิดเผยว่า เตรียมปลดพนักงานครั้งใหญ่ในสัดส่วนมากถึง 30% ของพนักงานทั้งหมดใน 2 ประเทศแถบอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย และสิงค์โปร์ ส่งผลให้ลาซาด้าเป็นบริษัทแห่งแรกในกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ปลดพนักงานออกตั้งแต่ต้นปีนี้ในภูมิภาคอาเซียน ขณะที่พนักงานฝ่ายการตลาดของลาซาด้าประจำสำนักงานสิงค์โปร์จะถูกปลดออกเป็นจำนวนมากที่สุดมากถึง 30% ใน 2 ประเทศ

ลาซาด้าเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใหญ่อันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน เมื่อเทียบในแง่ยอดขาย ขณะที่คู่แข่งอย่างทีมู (Temu) ในเครือของพินดูโอดูโอ และชีอิน (Shein) จากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาเปิดตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียนมากขึ้นและอย่างรวดเร็ว ติ๊กตอก (TikTok) ได้รุกตลาดอีคอมเมิร์ซกับผู้ประกอบการในท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย เจ้าตลาดรายใหญ่ของอาเซียน ได้แก่ ช้อปปี้ (Shopee) ยังคงรักษาตลาดในมืออย่างเหนียวแน่น