วันนี้ไทยติดโควิด-19 รายใหม่ 2,044 ยอดตายสะสมทะลุกว่า 360 ราย

379
0
Share:

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ของไทยในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาถึงวันนี้ 7 พฤษภาคม 2564 มีผู้ป่วยรายใหม่ติดเชื้อ 2,044 ราย ลดลงจากเมื่อวานนี้(6)จำนวน 133 ราย ส่งผลให้ไทยมีสถิติจำนวนติดเชื้อมากกว่าวันละ 2,000 รายรวม 9 ครั้ง โดยหยุดสถิติติดเชื้อ 6 ติดต่อกันเป็นครั้งแรกในช่วงก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 เมษายน พบผู้ติดเชื้อรายวัน 2,839 ราย ทำสถิติติดเชื้อรายวันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทย

สำหรับจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน 2,044 ราย เป็นการติดเชื้อในไทยจำนวน 2,040 ราย หรือ 99% และเป็นผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศจำนวน 4 ราย หรือ 1% ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 78,855 ราย ส่งผลให้ไทยยังคงอยู่อันดับที่ 98 ของโลกในวันนี้ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 ประเทศไทยขึ้นมาติด 1 ใน 100 อันดับประเทศของโลกเป็นครั้งแรก

จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 78,855 ราย แบ่งเป็นติดเชื้อสะสมในไทย 75,498 ราย หรือ 96% ของจำนวนสะสม และติดเชื้อจากผู้เดินทางจากต่างประเทศ 3,357 ราย หรือ 4% ของจำนวนสะสม โดยเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2564 นับเป็นที่ประเทศไทยทำสถิติติดเชื้อทะลุ 40,000 คนเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดการระบาดในไทยเป็นต้นมา วันที่ 22 เมษายนมีผู้ติดเชื้อสะสมเกิน 50,000 รายเป็นครั้งแรก วันที่ 28 เมษายนมีผู้ติดเชื้อสะสมเกิน 60,000 รายเป็นครั้งแรก และวันที่ 3 พฤษภาคมมีผู้ติดเชื้อสะสมเกิน 70,000 รายเป็นครั้งแรก

สำหรับสถิติติดมากกว่าวันละ 1,000 คนขึ้นไป ที่เกิดขึ้นรวม 24 วันติดต่อกัน เริ่มตั้งแต่วันนี้ 7 พ.ค. จำนวน 2,044 วันที่ 6 จำนวน 1,911 วันที่ 5 จำนวน 2,112 ราย วันที่ 4 จำนวน 1,763 ราย วันที่ 3 จำนวน 2,041 ราย วันที่ 2 จำนวน 1,940 ราย วันที่ 1 จำนวน 1,891 ราย วันที่ 30 เม.ย. จำนวน 1,583 ราย วันที่ 29 จำนวน 1,871 ราย วันที่ 28 จำนวน 2,012 ราย วันที่ 27 จำนวน 2,179 ราย วันที่ 26 จำนวน 2,048 ราย วันที่ 25 จำนวน 2,438 ราย วันที่ 24 จำนวน 2,839 ราย วันที่ 23 จำนวน 2,070 ราย วันที่ 22 จำนวน 1,470 ราย วันที่ 21 จำนวน 1,458 ราย วันที่ 20 จำนวน 1,443 ราย วันที่ 19 จำนวน 1,390 ราย วันที่ 18 จำนวน 1,767 ราย วันที่ 17 จำนวน 1,547 ราย วันที่ 16 จำนวน 1,582 ราย วันที่ 15 จำนวน 1,543 ราย เมื่อวันที่ 14 จำนวน 1,335 ราย ส่งผลให้ทำสถิติพบผู้ติดโรคระบาดโควิด-19 มากกว่าวันละ 1,000 รายรวม 24 วันติดต่อกันที่ยาวนานที่สุด และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยเป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังทำสถิติผู้ติดเชื้อสะสมใน 24 วันติดต่อกันเป็น 42,277 ราย (หรือเฉลี่ยติดวันละ 1,762 ราย) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด-19 ในไทยเป็นต้นมา

ก่อนหน้านี้ในช่วงระหว่างวันที่ 11-13 เมษายน 2564 เป็นช่วงทำสถิติพบผู้ติดโรคระบาดโควิด-19 มากกว่าวันละ 900 รายรวม 3 วันติดต่อกันที่ยาวนานที่สุดและเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยเป็นต้นมา เริ่มจากวันที่ 13 เมษายนจำนวน 965 ราย วันที่ 12 เมษายนจำนวน 985 ราย และวันที่ 11 เมษายนจำนวน 967 ราย รวมติดเชื้อสะสมใน 3 วันดังกล่าวเป็น 2,917 ราย หรือเฉลี่ยติดวันละ 972 ราย

จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาที่จำนวน 2,044 ราย พบว่า ประเทศไทยมีผู้ติดโรคระบาดโควิด-19 รายวัน เกินกว่าวันละ 1,000 ราย ทำสถิติวันที่ 24 ติดต่อกันเป็นครั้งแรกตั้งแต่ระบาดในไทยเป็นต้นมา นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2564 เป็นวันแรกที่ทำสถิติติดเชื้อรายวันมากที่สุดครั้งแรกในประเทศไทย (1,335 ราย) หรือตั้งแต่เกิดการระบาดในปี 2563 เป็นต้นมาอีกด้วย

ด้านผู้เสียชีวิตรายใหม่เพิ่มขึ้น 27 ราย ส่งผลจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมเพิ่มเป็น 363 ราย โดยเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม มีสถิติเสียชีวิตรายวัน 31 รายมากสุดเป็นประวัติการณ์ ก่อนหน้านี้ ไทยทำสถิติผู้เสียชีวิตรายวันสูงสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 15 ราย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27, 28, 30 เมษายน และ 5 พฤษภาคม 2564 และวันที่ 1, 2 และ 3 พฤษภาคม 2564 อยู้ที่ 21, 21 และ 31 ราย ตามลำดับ ดังนั้น ส่งผลให้จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 363 ราย ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ป่วยรักษาหายมีรวม 49,172 ราย ยังคงรักษาตัวจำนวน 29,320 ราย มีผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นเป็น 1,170 ราย ในจำนวนนี้ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 367 ราย หรือคิดเป็น 31% ของยอดผู้ป่วยอาการหนัก ก่อนหน้านี้ มีผู้เสียชีวิตสะสมเป็น 109 รายในเดือนเมษายน 2564 ซึ่งเป็นการระบาดในรอบที่ 3 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ จำนวนผู้ป่วยยืนยันจำแนกตามพื้นที่รักษาทั่วประเทศไทยประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 พบว่ากรุงเทพและปริมณฑลมีตัวเลขผู้ป่วยสะสมทะลุ 25,000 ราย ภาคกลางติดเชื้อทะลุ 36,000 ราย
รายละเอียดการพบผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่มีดังนี้
ภาคกลาง 37,350 ราย
กรุงเทพ และนนทบุรี 25,417 ราย
ภาคเหนือ 6,897 ราย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,524 ราย
ภาคใต้ 5,767 ราย