ศบศ.สั่งเร่งการจ้างงานเด็กจบใหม่

579
0
Share:

ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 (ศบศ.) โดยมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม ได้เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ศบศ. มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำข้อเสนอและกรอบแนวทางมาตรการเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 2 ระยะ
.
1. ระยะเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด 19
.
2. ระยะปานกลางและระยะยาว เพื่อยกระดับศักยภาพและวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต ภายหลังจากการระบาดโควิด 19 สิ้นสุดลง
.
รวมถึงเห็นชอบกรอบข้อเสนอมาตรการเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน โดยการส่งเสริมการจ้างงานโดยเฉพาะผู้จบการศึกษาใหม่ ควบคู่กับการรักษาการจ้างงานภายในประเทศ การสนับสนุนภาคเศรษฐกิจจริง ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ ให้สามารถฟื้นตัวเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนและผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย และการรักษาเสถียรภาพทางการเงินเพื่อไม่ให้เกิดความผันผวน และบรรเทาความเสียหายที่อาจจะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
.
พร้อมได้ให้ความสำคัญต่อข้อเสนอมาตรการในระยะเร่งด่วนที่สำคัญ 4 มาตรการ ดังนี้
.
1. มาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยว เราเที่ยวไปด้วยกัน อาทิ ขยายสิทธิ์การจองพัก จาก 5 คืน เป็น 10 คืน หรือเพิ่มค่าท่องเที่ยวจาก 1,000 เป็น 2,000 บาท การวางแนวทางมาตรการนำร่องเพื่อเปิดรับท่องเที่ยวเฉพาะพื้นที่ อย่างรอบคอบและรัดกุม
.
2. มาตรการสนับสนุนภาคธุรกิจและเอสเอ็มอี
.
3. มาตรการส่งเสริมการจ้างงาน อาทิ การส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้ที่จบใหม่โดยภาครัฐและภาคเอกชน การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานทั้งแรงงานในและนอกระบบ และการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาสำหรับผู้มีรายได้น้อย
.
4. มาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย ได้แก่ อาทิ มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มเติมระยะใหม่ และมาตรการเปิดรับผู้ใช้สิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม
.
ซึ่งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดมาตรการตามกรอบข้อเสนอมาตรการเศรษฐกิจ รวมทั้งการขอต่ออายุ และ/หรือข้อเสนอเพิ่มเติมของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจตามเหมาะสมและความจำเป็น โดยต้องเสนอในที่ประชุม ศบศ. ทุก 2 สัปดาห์ เมื่อประเด็นใดแล้วเสร็จจะเสนอครม.ทันที