ศูนย์กักกันโควิดเมียนมา เริ่มรับภาระไม่ไหว หลังต้องกักตัวผู้ติดเชื้อ – กลุ่มเสี่ยงกว่า 45,000 คน

539
0
Share:
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19ในประเทศเมียนมายังคงวิกฤต หลังเกิดการแพร่ระบาดระลอกสอง และกำลังประสบปัญหาจากมาตรการกักกันสูงสุดที่กำหนดให้ประชากรหลายหมื่นคนต้องกักตัว ส่งผลให้ศูนย์กักกันต้องแบกรับภาระอย่างหนัก
.
ทางการเมียนมากักตัวผู้ต้องสงสัยติดเชื้อโควิดไว้มากกว่า 45,000 คน ทั้งผู้ป่วยโควิด ผู้ต้องสงสัยที่ยังไม่ได้รับการตรวจหาเชื้อ ผู้ที่ใกล้ชิด และแรงงานชาวเมียนมาที่เดินทางกลับจากประเทศอื่น โดยใช้โรงเรียน วัด และตึกต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการโดยอาสาสมัครเป็นศูนย์กักตัว
.
โดยมาตรการกักกันสูงสุด มีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้โรคระบาดกลายเป็นภาระหนักของระบบสาธารณสุขที่ขาดแคลนงบประมาณต้องแบกรับภาระหนัก ยังรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือสถานกักตัวด้วย ทำให้ทั้งโรงพยาบาลและสถานกักกันทั่วประเทศกำลังจะรับมือไม่ไหว
.
Kyaw San Wai ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขกล่าวว่ามาตรการดังกล่าวเริ่มใช้เมื่อเดือนมี.ค.หลังจากที่มีผู้ป่วยยืนยันกรณีแรก แต่เมื่อมีจำนวนผู้ที่ต้องถูกกักกันเพิ่มขึ้นอย่างมากในปลายเดือนส.ค.โดยเฉพาะในย่างกุ้ง ส่งผลให้ศูนย์อนามัยและศูนย์กักกันแบกรับภาระที่หนักเกินไป
.
ตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขขณะนี้เมียนมามีผู้ที่ถูกกักกันกว่า 45,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วกว่าสองเท่า
.
Kaung Myat Soe ผู้อำนวยการโรงพยาบาลในย่างกุ้งเผยว่า ในประเทศอื่น ปล่อยให้ผู้คนอยู่บ้าน และจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อเมื่อเป็นกรณีร้ายแรงเท่านั้น แต่ในเมียนมาเรากังวลว่าเด็กเล็กหรือคนชราจะต้องบาดเจ็บล้มตายดังนั้นจึงทำการกักตัวพวกเขาด้วย
.
โดยระบบสาธารณสุขของเมียนมาได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่อ่อนแอที่สุดในโลกจากการละเลยของรัฐบาลทหารมาหลายสิบปี และเมื่อต้นปีมีเตียงรองรับผู้ป่วยหนักเพียง 330 เตียงสำหรับประชากร 54 ล้านคน และในปี 2561 องค์การอนามัยโลกประเมินจำนวนแพทย์ต่อประชากรไว้ที่ 6.7 ต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังเร่งสร้างและขอสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น
ขณะนี้รายงานผู้ติดเชื้อในเมียนมามีผู้ติดเชื้อรวม 8,344 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ถึง 1,052 ราย ในขณะที่มีผู้รักษาหายแล้ว 2,381 ราย และเสียชีวิต 150 ราย
.