สาธารณสุขไทยจ่อนำเข้าวัคซีนต้านฝีดาษลิง

355
0
Share:

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า สำหรับวัคซีนฝีดาษวานรนั้น ต้องย้ำว่าโรคนี้ไม่ได้รุนแรง ไม่ได้ติดต่อง่าย ซึ่งโรคจะต่างกับโควิด-19 จึงไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้กับคนไทยทุกคน แต่ต้องเลือกกลุ่มที่มีความเหมาะสม โดยการจะฉีดวัคซีนต้องคำนึง 4 ปัจจัย คือ 1.ประสิทธิภาพ 2.ผลข้างเคียง 3.สถานการณ์การระบาดของโรค และ 4.ความเป็นไปได้ของการจัดบริการ

ขณะนี้กำลังจัดหาวัคซีนรุ่นที่ 3 โดยให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นผู้ประสานเข้ามาอย่างช้าน่าจะช่วงครึ่งเดือนหลัง ส.ค.นี้ เบื้องต้น 1,000 โดส โดยฉีดคนละ 2 โดส ส่วนรายละเอียดการฉีดเว้นห่างเท่าไหร่ และจะเลือกกลุ่มใดในการฉีดนั้นจะมีคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคฯ พิจารณาความเหมาะสมต่อไป

นับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค.2565 ทั่วโลกมีผู้ป่วย ยืนยัน 22,812 ราย ใน 75 ประเทศ เสียชีวิต 3 ราย ที่ประเทศสเปน 2 ราย บราซิล 1 ราย แนวโน้มทั่วโลกขาขึ้น สูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและยุโรปหลายประเทศ ส่วนประเทศแถบเอเชียเริ่มพบหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ป่น ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนเดินทางจากต่างประเทศ แต่เริ่มมีแนวโน้มติดในประเทศ เช่น สิงค์โปร์มีผู้ป่วยมากกว่า 10 ราย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เสียชีวิต แม้ความรุนแรงของโรคต่ำเมื่อเทียบกับโควิด-19 โดยพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนสมองอักเสบ และมะเร็งร่วมด้วย

ส่วนประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยยืนยัน 2 ราย ยังไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยกรณีรายแรกที่เป็นชายชาวไนจีเรีย หลังมีการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กับค้นหาเชิงรุกในภูเก็ตจากประวัติที่ได้ ทำมา 1-2 สัปดาห์ พบเสี่ยงคัดกรอง 50 กว่าราย ไม่พบผู้ป่วยใหม่ในพื้นที่ และมีระบบเฝ้าระวังต่อเนื่อง ยืนยันว่าฝีดาษวานรไม่ได้ติดต่อง่าย ต้องสัมผัสใกล้ชิด โดยเฉพาะเพศสัมพันธ์คือการสัมผัสใกล้ชิดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ และกรณีรายที่ 2 ชายไทย มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดชายต่างประเทศ มีผู้สัมผัสร่วมบ้าน 18 คน ทุกคนผลตรวจเป็นลบ แต่กคุมไว้สังเกตอาการจนครบ 21 วัน