ส.อ.ท.จี้รัฐบาลเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมขอทุกฝ่ายถอยคนละก้าว

712
0
Share:

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า มีความกังวลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะสถานการณ์เริ่มกระจายไปหลายจุด ซึ่งคาดหวังทุกฝ่ายจะช่วยกันแก้ไข ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมจะทำอย่างไร โดยเฉพาะในประเด็นรัฐธรรมนูญที่ทุกพรรคการเมืองยินดีที่จะร่วมแก้ไข และอยากให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน แต่ยอมรับว่าเป็นห่วงเรื่องมือที่ 3 เข้ามาจนทำให้การเรียกร้องไม่เป็นไปตามที่วางไว้ และกระทบความเชื่อมั่น
.
อย่างไรก็ตามเห็นด้วยกับการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญ เพื่อเปิดเวทีให้กับผู้เห็นต่างให้มีโอกาสชี้แจง เป็นกระบอกเสียงให้ทุกฝ่ายดีกว่าพูดในที่สาธารณะ
.
คิดว่ารัฐบาลไม่ควรเพิกเฉยและทุกพรรคก็สนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่จะแก้ตรงไหน ต้องทำให้เกิดความชดเจนไม่อยากให้สถานกาณณ์ลุกลาม จนกระทบความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ และรัฐบาลต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้กระชับมากขึ้น ถ้ามีการเมืองเข้ามาแทรกจะมีอุปสรรคได้
.
วันนี้บางเรื่องต้องถอยคนละก้าว เอาเรื่องที่มองเหมือนกัน มาแก้ปัญหาเพื่อลดทิฐิลงมา ส่วนประเด็นไหนที่ยังเห็นไม่ตรงกันต้องมาดูว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยก็ต้องอยู่ตรงนั้น
.
ส่วนประเด็นที่ให้นายกฯต้องลาออกนั้น ยังเป็นประเด็นที่ไม่ใช่ทุกกลุ่มเห็นด้วย และคงต้องไปถามนายกฯ แต่วันนี้นายกฯยังพร้อมที่จะทำงาน ซึ่งในเดือนนี้รัฐบาลต้องมี solution ออกมาไม่ควรปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อ ซึ่งขณะนี้ผลกระทบจากการชุมนุมยังไม่มีชัดเจนต่อเศรษฐกิจ ตราบใดที่ยังไม่มีการทำลายทรัพย์สินหรือทำร้ายซึ่งกันและกัน
.
ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนก.ย. ที่ผ่านมาว่า อยู่ที่ระดับ 85.2 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ 84 ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5
.
สำหรับดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นมีปัจจัยบวกจากอุปสงค์ในประเทศขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน หลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวขึ้น
.
รวมทั้งการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในช่วงที่ผ่านมา ทำให้กำลังซื้อในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณ การผลิต และผลประกอบการ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งในสินค้าคงทนและไม่คงทน
.
ขณะที่ภาคการส่งออกและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เริ่มมีสัญญาณที่ดีภายหลังจากหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ทำให้ประเทศคู่ค้านำเข้าสิน้คาจากไทยได้มากขึ้น
.
ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก 65.7% และอัตราแลกเปลี่ยน 42.4%
.
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 93.3 จากระดับ 94.5 ในเดือนก่อน โดยปรับลดลงจากความกังวลต่อการระบาดรอบ 2 ของโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ และหลายประเทศเริ่มมีการใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง เป็นปัจจัยกดดันต่อการฟื้นตัวของภาคการส่งออกของไทยในระยะต่อไป และการสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ในเดือนต.ค.