หมอเฉลิมชัยเผยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ฉีดซิโนฟาร์มในเด็กนักเรียนเป็นโครงการศึกษาวิจัย เพื่อประกอบการขอ อย.รับรองการฉีดกลุ่มอายุ 12 ปี

311
0
Share:

วันนี้ 21 กันยายน 2564 นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ข้อความเกี่ยวกับความแตกต่างและเหตุผลการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มกับไฟเซอร์ในเด็กอายุ 12-17 ปี หลังจากเมื่อวานนี้ อย.ไทย ไม่รับรองการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มในเด็กอายุ 12 ปี มีดังนี้

จากที่กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบาย จะเปิดโรงเรียนในภาคการศึกษาใหม่ และจะเร่งฉีดวัคซีนให้เด็กอายุ 12-17 ปี กว่า 4.5 ล้านคนนั้น

ขณะนี้ปรากฏข่าวชัดเจนว่ามี  วัคซีน 2 ชนิดที่จะเริ่มทำการฉีดในเด็ก คือ

1) วัคซีนของ Pfizer ซึ่งได้รับการอนุมัติ

จากอย.ให้ฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้

2) วัคซีนของ Sinopharm ซึ่งยังไม่ได้รับการอนุมัติจากอย. แต่ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะนำมาฉีดในโครงการศึกษาวิจัย

รายละเอียดเพื่อความชัดเจน สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนนักเรียน เป็นดังนี้

วัคซีนเมื่อได้ทำการทดลองในมนุษย์เฟสหนึ่งและสองเรียบร้อยแล้ว ได้ผลดีทั้งเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิผล บางประเทศก็จะเดินหน้าทดลองเฟสสาม ก่อนขออนุมัติจากหน่วยงานของประเทศนั้น แต่บางประเทศ ก็จะอนุมัติให้ฉีดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในระหว่างทดลองเฟสสามไปด้วย

สำหรับในประเทศไทย หน่วยงานที่จะอนุมัติคือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะต้องการความครบถ้วนสมบูรณ์ของการทดลองในมนุษย์ ซึ่งวัคซีนที่ฉีดในคนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อย.อนุมัติให้ฉีดได้แล้วนั้น ประกอบด้วย

AstraZeneca

Sinovac

Sinopharm

Pfizer

Moderna

ส่วนวัคซีนที่สามารถฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้ ที่อย.อนุมัติแล้ว มี 2 ชนิด คือ Pfizer และ Moderna

ส่วนกรณีวัคซีนของ Sinopharm ได้มีการยื่นขออนุมัติต่ออย.โดยบริษัทไบโอจีโนเทคจำกัด และทาง อย.ได้ทำการประชุมพิจารณาเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 สรุปว่า ยังไม่สามารถอนุญาตให้ฉีดในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีได้

โดยขอข้อมูลเพิ่มเติมสองส่วนคือ

1) ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยเพิ่มเติม

2) ข้อมูลเรื่องประสิทธิผลในการป้องกันโรคของเด็กวัย 3-17 ปี

ดังนั้นการที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เริ่มโครงการ Vacc 2 School โดยเริ่มฉีดให้กับนักเรียนอายุ 10-18 ปี แล้วในวันนี้ (20 กันยายน 2564)

ตามที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น 132 โรงเรียน 108,000 รายนั้น จึงเป็นโครงการศึกษาวิจัย เพื่อที่จะติดตามผลของวัคซีน มาประกอบการขออนุมัติจาก อย.

ซึ่งในฐานะที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ และทำงานทางด้านอุดมศึกษา จึงสามารถทำงานวิจัยเรื่องนี้ได้ แต่ยังไม่ใช่การฉีดที่ได้รับการอนุมัติโดยสมบูรณ์จากอย.เหมือน Pfizer

อย่างไรก็ตาม Sinopharm ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อตาย ก็มีความปลอดภัยอยู่ในระดับสูง จากประสบ

การณ์ฉีดวัคซีนเดิมในอดีต และขณะนี้ได้มีการอนุมัติให้ฉีดแล้วในประเทศจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ชิลี และศรีลังกา

คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง และตัวนักเรียนเองที่จะฉีดวัคซีน ไม่ว่าจะเป็น Pfizer หรือ Sinopharm จึงควรเข้าใจสถานภาพของวัคซีนทั้งสองตัวให้ครบถ้วนสมบูรณ์ครับ