หมุดหมายใหม่! นายกฯเศรษฐา จ่อปั้นประเทศไทยขึ้นจุดหมายปลายทางการลงทุน

182
0
Share:

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาแถลงยุทธศาสตร์ ก... 2567” หัวข้อเรื่องนโยบายและทิศทางการพัฒนาตลาดทุนไทยว่ารัฐบาลได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ทั้งด้านดิจิทัลและความยั่งยืน ซึ่งส่งผลกระทบควบคู่กันต่อทั้งระบบตลาดทุน เศรษฐกิจโดยรวม และความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (ESG Economy)

สำหรับด้านความยั่งยืน ส่วนที่เห็นเป็นรูปธรรมคือ การจัดตั้งกองทุน Thailand ESG Fund เนื่องด้วยภาคเอกชนและภาครัฐของประเทศไทยมีจุดเด่นในเรื่องเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ดัชนีความยั่งยืนในระดับสากลจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

ภาครัฐเองก็มีการออกพันธบัตรสีเขียว และในอนาคตจะมีการระดมทุนไปดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มากมายทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้น ภาครัฐจึงเห็นชอบกองทุน TESG ที่ได้ประโยชน์ทั้งผู้ระดมทุนไปทำสิ่งที่ดีให้กับสังคม และผู้มีเงินออมที่ได้ผลตอบแทนระยะยาวควบคู่กับการส่งเสริม ESG ของประเทศด้วย

โดยเบื้องต้นคาดการณ์ว่าจะมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) ที่เสนอขายกองทุน TESG จำนวน 16 บลจ. จำนวน 25 กอง ซึ่งจะสร้างเม็ดเงินการระดมทุนไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท จากผู้ลงทุนที่อายุเฉลี่ย 30-60 ปี ไม่น้อกว่า 100,000 บัญชี และคาดว่าจะช่วยสร้างนักลงทุนหน้าใหม่ที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

ขณะเดียวกัน โลกปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนจากความก้าวหน้าเทคโนโลยี ซึ่งทำให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจโดยรวม โดยตลาดทุนไทยมีบทบาทสำคัญเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว

ทั้งการยกระดับช่องทางระดมทุนและการให้บริการกับภาคธุรกิจและประชาชน ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) จึงได้รับนโยบายจากรัฐบาล โดยยกระดับพร้อมปรับโครงสร้างองค์กร มีการเน้นยุทธศาสตร์และเพิ่มส่วนงานสายนวัตกรรมทางการเงินและเทคโนโลยี

เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล นับเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของแผนการยุทธศาสตร์ ก...ในระยะข้างหน้า

ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำทางภาษี ซึ่งจะส่งผลให้การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเท่าเทียมกัน ลดภาระแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในฝั่งของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ออก และผู้เสนอขาย รวมทั้งผู้ลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการระดมทุนผ่าน Investment Token เพื่อส่งเสริการพัฒนานวัตกรรมให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และด้วยปัจจัยพื้นฐานดังกล่าวรัฐบาลมีแนวทางเพื่อเสริมสร้างจุดแข็งของตลาดทุนไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งจะช่วยลดความผันผวน อีกทั้งส่งเสริมโอกาสการเติบโตและเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของตลาดทุนไทย และเศรษฐกิจโดยรวมในระยะข้างหน้าต่อไป

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวต่อไปว่า แนวทางแรกที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือ 1.การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศผ่านการผลักดันให้ตลาดทุนไทยเป็น Investment Destination ของภูมิภาค ซึ่งจะนำมาซึ่งการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น โดยรัฐบาลมุ่งเน้นเปิดการค้าระหว่างประเทศ เขตเศรษฐกิจและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะเร่งเจรจาและขยายเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) เพื่อเปิดตลาดใหม่ ๆ และสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

รวมทั้งส่งสริมความสะดวกในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยให้ผู้ลงทุนและธุรกิจต่างประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลจะดำเนินการนำข้อเสนอข้อมูลการลงทุนของตลาดหุ้นไทย หรือการทำโรดโชว์เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ต่อมา รัฐบาลจะโฟกัสเพื่อขยับไปสู่ความยั่งยืน โดยรัฐบาลจะดำเนินการสนับสนุนทุกภาคส่วน เพื่อเดินหน้าอย่างเต็มกำลัง มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG และเป้าหมายของประเทศด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2060

โดยรัฐบาลจะดำเนินการส่งเสริมให้ตลาดทุนพัฒนากลไกในภาคธุรกิจ มีเงินทุนเพียงพอในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้ธุรกิจขนาดเล็กเข้าถึงองค์ความรู้ เทคโนโลยี และเงินทุน เพื่อปรับตัวได้ และพร้อมรับมือกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม

ภาครัฐบาลจะดำเนินการผลักดันนโยบายการกระตุ้นตราสารหนี้สีเขียว หรือ Green Bond Market การระดมทุนเพื่อสนับสนุน SDG และแนวนโยบายการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

กลไกการเงินสีเขียว โดยได้ตั้งเป้าการออกและเสนอขายตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืนไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท เพื่อให้องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินงานสร้างความยั่งยืน และการจัดทำ Thailand Green Taxonomy เพื่อส่งเสริมการเติบโตและการลงทุนในด้านโครงสร้างด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม

สุดท้าย เป็นการสนับสนุนการระดมทุนของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจดิจิทัล เอสเอ็มอี สตาร์ตอัพ เพื่อให้มีเงินเพียงพอในการดำเนินธุรกิจ เติบโตและขยายตัวต่อไปในระดับโลก

สำหรับด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ภาครัฐและเอกชนจะร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมในบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโลยีชั้นสูงหรือเอไอ ในส่วนเอสเอ็มอีและสตาร์ตอัพ ภาครัฐจะมีการพัฒนากลไกช่วยเหลืออย่างครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดหาเงินทุน ตลอดจนการเปิดตลาด

แนวทางของรัฐบาลทั้งหมดที่กล่าวไป จะเร่งดำเนินการในภาคตลาดทุน โดยรัฐบาลมีความหลากหลายทางด้านนโยบายที่จะทำให้การดำเนินงานในภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อมั่นเป็นอย่างมากว่า หากแนวทางการดำเนินการของรัฐบาลในทุกภาคส่วนเข้าด้วยกันแล้วจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป