หาเสียงค่าแรงขึ้นแตะวันละ 600 ฉุดแข่งขันไทย ทุนไหลไปเวียดนาม-อินโดนีเซีย

294
0
Share:
หาเสียง ค่าแรง ขึ้นแตะวันละ 600 ฉุดแข่งขันไทย ทุนไหลไปเวียดนาม-อินโดนีเซีย

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำว่าเป็นนโนบายที่ถูกพรรคการเมืองนำมาเป็นนโยบายประชานิยมหาเสียงก่อนเลือกตั้งมาโดยตลอดรวมทั้งการหาเสียงว่าจะเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาท/วันนั้น หากเป็นจริงประเทศไทยอาจสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการลงทุนและการส่งออก ผลดีจะตกไปอยู่กับประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งจะส่งสินค้าราคาถูกกลับเข้ามาขายในประเทศ ส่วนการว่างงานคงไม่ใช่ประเด็น เพราะไทยอัตราการเกิดต่ำและขาดแคลนแรงงาน

สำหรับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นมี 6 ข้อ ด้วยกัน ประกอบด้วย

1.กระทบฐานค่าจ้างและขีดความสามารถในการจ่ายค่าจ้าง ค่าจ้างขั้นต่ำเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน การปรับค่าจ้างแบบก้าวกระโดดจึงส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างที่เคยเกิดในอดีตปี พ.ศ 2555-2556

2. ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจน คือค่าจ้างแท้จริงของลูกจ้างสูงขึ้น ค่าจ้างแท้จริงคือรายได้ที่หักเงินเฟ้อเพื่อจะทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับลูกจ้าง แต่ในอดีตพบว่าค่าจ้างที่ก้าวกระโดดจะตามมาด้วยเงินเฟ้อราคาค่าของที่สูงขึ้นแบบก้าวกระโดดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แรงงานส่วนหนึ่งที่อยู่ในสถานประกอบการขนาดเล็กและภาคเกษตร-ประมงถึงแม้ได้รับค่าจ้างตามกฎหมายก็ยังคงเป็นกลุ่มตกหล่นไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่ม

3. กลุ่มนายจ้างที่ได้รับผลกระทบมาก เช่น ภาคเกษตรและประมงซึ่งผลผลิตราคาต่ำทำให้ผลิตภาพแรงงานต่ำกว่าค่าจ้าง 7-11% กิจการโรงแรม ร้านอาหาร ก่อสร้างที่ต้องใช้คนจำนวนมาก อุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมรับจ้างผลิต (OEM) เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้ากีฬา เครื่องหนัง อาหารแปรรูป เป็นต้น

อุตสาหกรรมที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงาน ภาคการส่งออกอาจได้รับผลกระทบ ทั้งอุตสาหกรรมรับจ้างการผลิต อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรรวมถึง SME ขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบมากกว่าขนาดใหญ่ เคยมีการศึกษาผลกระทบค่าจ้างแบบก้าวกระโดดหลังจาก 1 ปีการจ้างงานของบริษัทขนาดเล็กเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัดและอาจมีผลทำให้มีผลกระทบสัดส่วน GDP ลดลง2.5%

5.การปรับค่าจ้างชี้นำ 600 บาทเป็นการทำลายโครงสร้างไตรภาคี ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาค่าจ้างขั้นต่ำในการพิจารณาของไตรภาคีถึงแม้บางครั้งภาคการเมืองจะเข้ามาก็ต้องชี้นำอยู่ในไตรภาคี การประกาศนโยบายเช่นนี้จะทำลายโครงสร้างค่าจ้างที่เกี่ยวข้องกับสภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ความสามารถของนายจ้างและความเดือดร้อนของลูกจ้าง

6. ค่าจ้างของผู้จบปริญญาตรีเป็นทางเลือกของนายจ้าง การชี้นำค่าจ้างแรงงานผู้จบปริญญาตรีจาก 15,000 บาทเป็น 25,000 บาทภายในห้าปีหรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 2,000 บาท หากเป็นการรับแรงงานใหม่ที่ไม่ต้องการคุณสมบัติที่ต้องการใช้ทักษะระดับปริญญาเป็นทางเลือกของนายจ้างที่อาจเลือกแรงงานในระดับที่ต่ำกว่าซึ่งค่าจ้างถูกกว่า