องค์กรเอกชนเพื่อประชาธิปไตยเผยอันดับเสรีภาพของไทยลดลงจาก “กึ่งเสรีภาพ” ในปีก่อนมาเป็น “ไม่มีเสรีภาพ”

843
0
Share:

Freedom House องค์กรเอกชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2484 ได้ทำการจัดอันดับประชาธิปไตยประจำปีจาก 210 ประเทศทั่วโลก ผ่านตัวชี้วัด 3 ระดับ คือ ประเทศเสรีภาพ กึ่งเสรีภาพ และไม่มีเสรีภาพ
.
โดยการจัดอันดับในปีนี้พบว่าประชาชนไม่ถึง 20% ของโลกอาศัยอยู่ในประเทศเสรีภาพ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ปี 2538
.
การจัดอันดับครั้งนี้ยังพบว่ามีประเทศที่ถูกจัดอันดับอยู่ในประเทศไม่เสรีภาพ 64 ประเทศจากทั้งหมด 210 ประเทศซึ่งเป็นจำนวนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2549
.
ขณะที่ 73 ประเทศถูกลดอันดับลงเนื่องจากทางองค์กรประเมินว่าสิทธิเสรีภาพในประเทศรวมถึงสิทธิทางการเมืองลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรถึง 3 ใน 4 ของโลก
.
โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่เพียงแต่เป็นรัฐเผด็จการอย่างเช่น จีน เบลารุส และเวเนซุเอลาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศประชาธิปไตยที่มีปัญหา เช่น สหรัฐอมเริกา และอินเดียด้วย
.
รวมถึงประเทศไทยซึ่งถูกลดอันดับจากประเทศ “กึ่งเสรีภาพ” ในปีก่อนมาเป็น “ไม่มีเสรีภาพ” ในปีนี้ด้วยคะแนนสิทธิเสรีภาพ 30 จาก 100 คะแนน คิดเป็นสิทธิทางการเมือง 5 จาก 40 คะแนน และสิทธิเสรีภาพโดยรวม 25 จาก 60 คะแนน
.
โดยทางการเมืองให้เหตุผลอันเนื่องมาจากการยุบพรรคฝ่ายค้านรวมถึงการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของรัฐบาล
.
ขณะที่อินเดียซึ่งเคยถูกจัดอันดับเป็น “ประเทศเสรี” มาตลอด ในปีนี้กลายเป็น “กึ่งเสรีภาพ” ครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2540 โดยทางองค์กรอ้างถึงหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอินเดียในช่วงปีที่ผ่านมา อาทิ การจลาจลในเดลี การเลือกปฏิบัติต่อพลเมืองมุสลิม และการใช้กฎหมายคุกคามประชาชน เป็นต้น