อยู่ไร้ความหวัง! คนไทยแชมป์ฆ่าตัวตายอันดับ 1 ในอาเซียน

865
0
Share:
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายในแต่ละปีอยู่ที่ 14.4 คนต่อ 100,000 คน ซึ่งเป็นอัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลกในปัจจุบันที่ 10.5 คนต่อ 100,000 คน อัตราการฆ่าตัวตายของประเทศไทยที่พุ่งสูงขนาดนี้ ยังทำสถิติสูงเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยพบว่า ถ้าเปรียบเทียบกับแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ประเทศฟิลิปปินส์ มีอัตราการฆ่าตัวตายที่ 3.2 คนต่อ 100,000 คน และประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ 11.2 คน ต่อ 100,000 คน ปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย พบว่าทุกๆ 10 นาที จะมีความพยายามในการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นในประเทศไทย
ภาวะการฆ่าตัวตายในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในปี 2563 หรือปี 2020
.
ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยพบกับการรระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,551 ภายในระยะเวลาครึ่งปีแรกของปี 2020 หรือเฉลี่ยฆ่าตัวตายวันละ 14 ราย จำนวนการฆ่าตัวตายในประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง 22% เมื่อเปรียบเทียบจากช่วงเดียวกัน หรือใน 6 เดือนแรกของปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่พบการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เมืองอู่ฮั่นในจีนแผ่นดินใหญ่
.
อันโตนิโอ แอล แรพโป้ รองศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการเมืองไทยกว่า 20 ปี เปิดมุมมองเชิงวิเคราะห์ว่า อัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจและวัฒนธรรม หากตัดปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจ จะพบว่าคนไทยมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการต่อสู้ทางจิตใจมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะแนวคิดว่าด้วยเรื่องความตาย
.
นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจเชิงสังคมในไทย ล้วนมองว่า สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสภาวะจิตใจที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เนื่องจากธุรกิจปิดตัวลงจากมาตรการรัฐบาลในการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าว นอกจากนี้ มาตรการในการให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินที่มีต่อประชาชนที่ยากจนและได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโรคระบาดโควิด-19 รวมถึงภาวะเศรษฐกิจไทยที่ตกต่ำอย่างเลวร้าย ล้วนติดข้อจำกัด ข้อกำหนด และวิธีการในการให้ความช่วยเหลือให้ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
.
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่เกิดโรคระบาดโควิด-19 และมีการปิดล็อกระดับประเทศ ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยทรุดดำดิ่งถึง -6.1% ทำสถิติเศรษฐกิจเลวร้ายที่สุดในรอบ 22 ปี หรือนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 ไม่เพียงเท่านั้น ยังเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจย่ำแย่เป็นอันดับ 2 จากอันดับท้ายสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน