อสมท.อาจเดินตามรอยการบินไทย หลังขาดทุนต่อเนื่อง 5 ปี

870
0
Share:

รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. เปิดเผยว่า บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน)เข้าข่าย ที่ต้องเร่งทำแผนฟื้นฟูกิจการ เช่นเดียวกับการบินไทยและขสมก. เพราะขาดทุนอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่สภาพคล่องของบริษัทมีอยู่อย่างจำกัด และลดลงต่อเนื่องอยู่ได้ไม่เกินเดือนต.ค. ซึ่งอาจกระทบการจ่ายเงินเดือนพนักงาน
.
อย่างไรก็ตามสคร.ได้มีการหารือร่วมกับบอร์ด อสมท อย่างไม่เป็นทางการแล้ว และขอให้ฝ่ายบริหารไปพิจารณาว่าจะเดินหน้าธุรกิจต่ออย่างไร และให้ทำแผนการฟื้นฟูกิจการผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร.
.
โดยแนวทางฟื้นฟูกิจการก็มี 2 ทางเลือก คือ 1) เดินตามรอยการบินไทย เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้กฎหมายล้มละลาย หรือ 2) ใช้กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้กรอบ คนร. หาก อสมท ยังมีธุรกิจอื่นที่ยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ก็อาจไม่จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการกฎหมายล้มละลาย โดยสามารถใช้แนวทางการเติมสภาพคล่อง เช่น การเพิ่มทุน หรือการกู้ยืม ซึ่ง อสมท. ต้องไปพิจารณา แต่ถือเป็นโจทย์ยาก เพราะธุรกิจโดนดิสรัปต์ ดังนั้นการทำแผนฟื้นฟูเพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจอย่างแข็งแรง ยากกว่าการบินไทย เพราะเทรนด์ธุรกิจสื่อปัจจุบันมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า ทำให้อาจจะกลับมาไม่ได้เหมือนธุรกิจสายการบิน
.
แต่ อสมท ยังมีสินทรัพย์อื่นอย่างเช่น ที่ดิน ซึ่งถ้ามีการบริหารจัดการทำให้เพิ่มมูลค่าขึ้นมา สามารถทำให้เห็นว่าธุรกิจสามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ ก็จะมีความหวังในการฟื้นฟูกิจการได้ แต่หาก อสมท เลือกฟื้นฟูกิจการแบบเดียวกับการบินไทย ซึ่งกระทรวงการคลังต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นของ อสมท. ลงเพื่อให้พ้นจากสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 65.80% และธนาคารออมสินอีก 11.48% แต่ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 เม.ย. 2563
.
โดยในปี 2559 ทางอสมท.ขาดทุน 757.79 ล้านบาท // ปี 2560 ขาดทุน 2,543.27 ล้านบาท // ปี 2561 ขาดทุน 378.01 ล้านบาท // ปี 2562 ขาดทุน 458.29 ล้านบาท และไตรมาสแรกปี 2563 ขาดทุน 877 ล้านบาท
.
โดยนายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท กล่าวว่า ธุรกิจสื่อในวันนี้ถูกดิสรัปชั่นอย่างหนัก โดยเม็ดเงินโฆษณาในตลาดลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังถูกแบ่งไปยังนิวมีเดียอย่างชัดเจน หาก อสมท.ยังยึดติดกับกรอบการทำงานแบบเดิม และอาศัยรายได้จากสื่อโทรทัศน์ช่องทางเดียวก็ยากที่จะอยู่รอด เนื่องจากธุรกิจสื่อในโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็วมากอสมท ประสบกับภาวะขาดทุนมานานแล้ว ตั้งแต่ช่วงปี 2557- 2558 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านและประมูลทีวีดิจิทัล โดย อสมท. ประมูล 2 ช่อง ต้องใช้เงินกว่า 3,000 ล้าน และลงทุนสร้างโครงข่ายอีกราว 2,000 ล้านบาท ซึ่งในครั้งนั้นผู้บริหารเลือกใช้เงินสดที่มีอยู่ไปจ่าย ขณะที่ต้นทุนดำเนินงานก็ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากต้องลงทุนคอนเทนต์เพิ่มขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมโฆษณาเริ่มหดตัวลงอย่างต่อเนื่องตลอดในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา
.
หากดูสถานะทางการเงินของ อสมท. ในวันนี้มองว่าไม่ได้ร้ายแรงเท่ากับการบินไทย และยังสามารถเดินต่อได้ เพียงแต่จำเป็นต้องขอกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อนำเงินมาเสริมสภาพคล่อง ส่วนการที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเช่นเดียวกับการบินไทยก็ได้ เพราะแนวทางการเข้าสู่แผนฟื้นฟูก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการพูดกันมานานแล้ว
.
อย่างไรก็ตามหากต้องการขับเคลื่อน อสมท ให้สามารถเดินต่อได้ ต้องทำ 3 เรื่องคือ 1.ต้องปรับลดขนาดองค์กรเพื่อให้มีขนาดเล็กลง มีจำนวนพนักงานใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม// 2.นำสินทรัพย์ที่มีอยู่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ 3.หาพาร์ตเนอร์และขยายไลน์ธุรกิจเพื่อกระจายความเสี่ยง(เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้ใหม่ให้สอดรับกับโลกในปัจจุบัน