ออมสินฟันธงจีดีพีไทยปีนี้ยังโต 3%

664
0
Share:

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน ประมาณการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจหรือ จีดีพีไทย ปี 2562 จะขยายตัวอยู่ที่ 3% ชะลอตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลกระทบจากสงครามการค้า และค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่าง ต่อเนื่อง เป็นแรงกดดันสำคัญต่อภาคการส่งออก ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.3%
.
สำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2562 มีปัจจัยสนับสนุนจาก
.
1.มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยประคองกำลังซื้อภาคครัวเรือน
.
2.การออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนจากต่างประเทศ ส่งผลดีต่อการลงทุนภาคเอกชน
.
3.การท่องเที่ยวยังขยายตัวได้แม้จำนวนนักท่องเที่ยว จีนจะชะลอตัวแต่ได้รับการชดเชยจากนักท่องเที่ยว โซนเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้
.
4.ธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจหลักกลับมาดำเนินนโยบาย ผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น
.
5.การมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเป็นผลดีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศสร้างความเชื่อมั่นในการเจรจาเขตการค้าต่างๆ ได้
.
ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ได้แก่
.
1.การส่งออกมีแนวโน้มหดตัวลง จากผลกระทบ ของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมถึงค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
.
2.ภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตและรายได้ครัวเรือนภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง
.
3.ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นจากความไม่สงบในตะวันออกกลางส่งผลต่อต้นทุนทางธุรกิจ
.
4.กระบวนการตรวจรับและเบิกจ่ายที่ล่าช้าในโครงการลงทุนขนาดใหญ่อาจทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
.
5.สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในภูมิภาคต่างๆ ทั้งในตะวันออกกลางกรณีอิหร่านและสหรัฐอเมริกา, ความขัดแย้งในแคว้นแคชเมียร์ระหว่างอินเดีย ปากีสถาน และจีน เป็นต้น ซึ่งหากการเจรจาไม่สำเร็จอาจพัฒนาไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นได้
.
ส่วนทางด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย
.
ขณะที่ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินที่มีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น ทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) สำหรับการกู้ร่วม เอื้อต่อการขยายตัว ทางเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้แรงกดดันจากความเสี่ยงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชัดเจนขึ้น